Page 664 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 664
ในส่วนของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สอดรับกับลักษณะทางกายภาพของด่านป้อมปราการเหล่านี้ ปรากฏ
์
ในเอกสาร มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า (นายต่อแปล) เนื้อความกล่าวถึงเหตุการณเมื่อจุลศักราช ๑๑๒๗ (พ.ศ.
๒๓๐๘) ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตก ตอนที่กองทัพพม่าโดยมีสีหะปะเต๊ะแม่ทัพพม่าคุมทัพยกจากเมืองนครลำปาง
เพื่อจะไปตีกรุงศรีอยุธยาและได้พักแรมตามระยะทางมา เมื่อผู้รักษาหัวเมืองรายทางของอยุธยาทราบข่าว ก็
จัดเตรียมป้องกันทัพพม่าอย่างสุดความสามารถ ความดังนี้
“ฝ่ายผู้รักษาหัวเมืองรายทาง คือเมืองบ้านตาก เมืองระแหง เมืองกำแพงเพ็ชร์
เมืองสวรรค์โลก เมืองศุโขไทย เมืองรัตสมา(รัตสมาไม่ได้ความ) เมืองพิศณุโลก เมืองพิ
ั
ไชย เมืองลับแล เมืองนครสวรรค์ เมืองอ่างทอง ครั้นได้ทราบข่าวว่ากองทพพม่ายกมา
ั
ก็เตรียมจดการกำแพงเมืองแลค่ายคูประตูหอรบลงขวากลงหนาม แลเอาปืนใหญ่ขึ้น
รักษาน่าที่เชิงเทินโดยแน่นหนาดุจดังกำแพงเหล็ก...”
(ศิริญากรณ์ โชคประเสริฐศรี บรรณาธิการ, พิเศษ เจียรจันทร์พงษ์ และ ศ.ดร. สุเนตร ชุตินธรานน์ นำเสนอ,
๒๕๖๒, ราชวงษ์พงษาวดารพม่า นายต่อแปล, กรุงเทพ: บริษัทไทยควอลิตี้บุ๊คส์(๒๐๐๖), หน้า ๓๑๙)
๕.๑ ด่านคีรีสีล หรือ ด่านนานกกก (ด่านกำแพงอิฐ)
ด่านคีรีสิล หรือ ด่านนานกกก บางครั้งพบเรียกว่า ด่านชายเขา ตามชื่อของแม่น้ำในบริเวณดังกล่าว
เป็นด่านของเมืองลับแลที่มีลักษณะเป็นกำแพงซึ่งสร้างจากอิฐโดยมีแกนกลางเป็นดิน ตำแหน่งของดานนี้อยู่ตดกับ
่
ิ
แม่น้ำห้วยชายเขา และห้วยชายเขาบก ปัจจุบันร่องรอยของ ด่านชายเขา นี้ส่วนหนึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของบ้านเลขที่ ๓
หมู่ ๔ บ้านชายเขาบก ตำบลนานกกก อำเภอลับแล ซึ่งเป็นบ้านพ่อขา ปัน อยู่ทา อายุ ๗๕ ปี และแม่ขา พิมพ์
พรรณ อยู่ทา ภรรยา อายุ ๖๔ ปี (สัมภาษณ์เมื่อ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔) อีกส่วนหนึ่งตั้งอยู่ในสวนที่อยู่ติดกัน
แนวกำแพงอิฐมีฐานกว้างประมาณสองเมตร ยาวทั้งสิ้นราวร้อยห้าสิบเมตร ปัจจุบันหลงเหลือให้เหนราว
็
ห้าสิบเมตร เนื่องจากการสร้างถนนคอนกรีต การสร้างบ้านเรือนเพื่ออยู่อาศัย และการถากถางทำไร่สวน
้
ส่วนความสูงของตัวกำแพงไม่สามารถบอกไดเนื่องจากได้พังทลายลงมามากแลว นอกจากนี้ พ่อขาปัน ยังให้ข้อมูล
้
้
เพิ่มเติมอีกว่า เดิมทีมีศาลเจาปู่ด่านตั้งอยู่ในพื้นทของบ้านตนเอง ณ จุดที่น้ำห้วยชาวเขาบกสบกับน้ำห้วยชายเขา
ี่
ปัจจุบันทางชุมชนได้ทำการย้ายศาลฯไปไว้ที่พื้นที่ของโรงเรียนนานกกกซึ่งอยู่ไม่ไกล
ด่านของเมืองลับแล
หน้า ๒๗