Page 673 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 673

เอกสารลานธัมม์หมายเลข ๒๑ พละสังขยา ผูก ๒  พบที่วัดท้องลับแล



















                                                 ั
               อ่านปริวรรต : ผู้ถ้วร๒นายเหิยตํวบ่งามสกน้อบพอเปนถ้อยติสไบรานจิ่มเปินและนา
                               พรองค่เท้าตาไกพรองค่ไหย้เท้าตาควายเพาะวาไจ
                               บ่ตังได้สลังแผผวร”สม”สมมเนนคนธะบานคีรีสีลหํวนาดานอาย

                               ขยรยามเมิอยูวัตมอรน้อยแก้วกลาวงเมิงรับแรงทีรางสาวชุมมวรและนายเหิยรางสาวชมเชิยทุกคำ

               เช้า
               คำอ่าน : ผูกถ้วน ๒ นายเหยตัวบ่งามสักน้อยพอเป็นถ้อยติดใบลานจิ่มเปิ่นและนา

                        พร่องก็เท่าตาไก่พร่องก็ใหญ่เท่าตาควายเพราะว่าใจ

                           บ่ตั้งได้สะลั้งแผผวน”สม”สามเณรคันธะบ้านคีรีสีลหัวนาด่านอ่าย
                                                                                                            ุ
                                                                       ี่
                         เขียนยามเมื่ออยู่วัดม่อนน้อยแก้วกว้างกลางเมืองรับแรงทร้างสาวชุมม่วนและนายเหิยร้างสาวชมเชยทก
               คำ

               ที่มา : ธัมม์หมายเลข ๒๑ พละสังขยา ผูก ๒ พบที่วัดท้องลับแล ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
               ผู้จาร : สามเณรคันธะบ้านหัวนาสีลด่านอ่าย

               ความสำคัญ : พบคำว่า บ้านคีรีศีลหัวนาด่านอ่าย เป็นการระบุพิกัดตำแหน่งด่านของเมืองลับแลว่าอยู่บริเวณ บ้าน

               หัวนา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของตำบลนานกกก อำเภอลับแล และเป็นพื้นที่ๆต่อเนื่องกับ บ้านชายเขาบก ตำบลนานกกก
                      ี่
               สถานทที่พบแนวกำแพงอิฐยาวที่ชาวบ้านเรียกว่ากำแพงเมืองลบแล (สันนิษฐานว่าคือด่านของเมืองลับแล) สอดรับ
                                                                   ั
               กับข้อความในใบลานที่กล่าวถึง ด่านอ่าย (คำว่าอ่ายเป็นคำล้านนาแปลว่าด่าน) และยังปรากฏพบห้วยชายเขาซึ่ง

               เป็นเส้นน้ำเก่าแก่อยู่ในบริเวณเดียวกัน
                                                                                                ี่
                       ส่วนคำว่า บ้านคีรีสิล เป็นภาษาบาลีแปลว่าภูเขาหิน อาจเป็นการบ่งบอกลักษณะพื้นทละแวกนั้นว่ามี
               ลักษณะเป็นภูเขาที่มีหินเป็นส่วนประกอบ หรือกองหินที่มีขนาดใหญ่เหมือนภูเขา

               ผู้ค้นพบ : คณะทำงานศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลับแล (เมืองลับแลง)


                                                       ด่านของเมืองลับแล
                                                           หน้า ๓๖
   668   669   670   671   672   673   674   675   676   677   678