Page 775 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 775
บทที่ ๓
อภิปรายผลการศึกษา
จากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองด่านนางพูล ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนี้
๑. เมืองด่านนางพูล ปรากฏในเอกสารเก่าที่สุดคือ คำให้การชาวกรุงเก่า ซึ่งมีชื่อที่เรียกแตกต่างไปว่า
่
เมืองตักกลงปู ว่าคือ เมืองด่านนางพูน เมืองขึ้นของเมืองพิชัย ชี้ให้เห็นว่าเมืองด่านนางพูนอาจมามาตั้งแตสมัยกรุง
ศรีอยุธยา
่
๒. จากสมุดไทยดำการสักเลก ขึ้นบัญชีไพร่ในสมัยช่วงสมัย ร.๔ - ร.๕ โดยระบุว่า บ้านไร่ แขวงเมืองดาน
นางพูน ซึ่งปัจจุบันบ้านไร่ อยู่ในหมู่ที่ ๒ ตำบลแม่พูล ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าเมือง ด่านนางพูลคือตำบลแม่พูลในปัจจุบัน
การปรากฏชื่อ เมืองด่านแม่นางลำพูน ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๑๗ เรื่องต้นคำแปลหนังสือขดเมืองหลวงพระ
ี่
ี่
บาง เป็นครั้งที่ปรากฏนามของเมืองด่านนางพูนว่า “ด่านแม่นางลำพูน” และปรากฏนามผู้ว่าราชการคนทเก่าทสด
ุ
เท่าสืบค้นมาคือ หลวงพิชิตภักดีแสนหลวง พ.ศ. ๒๔๒๐ มีการตั้งให้หลวงโยธาภักดี เป็นพระวิเชียรคีรี ผู้ว่าราชการ
เมืองด่านนางพูน แทนหลวงวิชิตคีรีแสนหลวงคนเดิม (ทสันนิษฐานว่าเป็นคนพื้นที่,เจ้านายเดิม)
ี่
๓. เมืองด่านนางพูน ปรากฏในใบบอกพระยาสวรรคโลก ทำให้ทราบถึงเขตแดนของเมืองด่านนางพูนว่า
ติดต่อกับเมืองสวรรคโลก เมืองทุ่งยั้งและเมืองด้ง ขณะปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ถือเป็นเอกสารที่บอกถึงอาณาเขตของเมือง
ี่
ด่านนางพูนทชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีการปรากฏมา
ช่วง พ.ศ. ๒๔๓๐ มีใบบอกให้เมืองขึ้นของเมืองพิชัยสีข้าวสารเพื่อส่งไปเมืองน้ำปาด เป็นเสบียงในการทำ
สงครามปราบฮ่อ หนึ่งในนั้นปรากฏชื่อเมืองด่านนางพูลด้วยเช่นกัน และภายหลังจากเสร็จราชการปราบฮ่อ
พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรา
ช้างเผือกชั้นที่ ๔ แก่ พระวิชิตคิรี ผู้ว่าราชการเมืองด่านนางพูน
้
ี่
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๓ พระวิชิตคีรีเจ้าเมืองด่านพูนเขาเฝาในหลวงรัชกาลท ๕ ทรงมีดำรัสถามเกี่ยวสภาพ
้
่
สังคมของเมืองด่านนางพูน และชาติกำเนิดของพระวิชิตคีรีเอง ทำให้ทราบว่าพลเมืองของเมืองดานนางพูนนั้นเป็น
คนลาว (ลาวล้านนา)
จากรายงานข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๔๔๓ ปรากฏชื่อเมืองด่านนางพูล เป็นหนึ่งใน ๑๓ เมืองขึ้นของเมืองพิชัย ก่อนจะถูกยุบรวมกับเมืองลับแลและ
เมืองทุ่งยั้ง กลายเป็นอำเภอลับแลในปัจจุบัน
ตามงานศึกษาของนฤมล วัฒนพานิช สะท้อนให้เห็นว่า อำเภอลับแล เกิดจากการยุบรวมของ เมืองทงยั้ง
ุ่
เมืองลับแลและเมืองด่านนางพูล ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๔ แสดงให้เห็นถึงจดเปลี่ยนสำคัญในการยุบเมืองดังกล่าว
ุ
ั
ภายหลังจากการยุบเมืองด่านนางพูนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอลบแลแล้ว พื้นทเดิมของเมืองด่านนางพูนได้ถูกจด
ี่
ั
ี่
แบ่งเป็น ๓ ตำบล ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๕๑ เรื่องประกาศยกเลิกหนังสือสำคัญเดิมสำหรับทดน
ิ
คือ ตำบลห้วยใต้ ตำบลบ้านพันแหวน และตำบลแม่พูล ขึ้นกับอำเภอลับแล ก่อนที่จะยุบเหลอเพียงตำบลเดยวใน
ื
ี
เมืองด่านนางพูน
หน้า ๔๗