Page 776 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 776

ที่สุดคือตำบลแม่พูล โดยมีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นคือ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูลและมีเทศบาลตำบล
               หัวดงเป็นไข่แดงอยู่ตรงกลางเช่นในปัจจุบัน


                         ๔. รายนามผู้ปกครองเมืองด่านนางพูน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวง” และ
               “พระ”(ถือศักดินา ๑๐๐๐ ไร่) ดังนี้


                              ๑. หลวงวิชิตคีรีแสนหลวง                    พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔๒๐
                              ๒. พระวิเชียรคีรี/พระวิชิตคีรี(หลวงโยธาภักดี)    พ.ศ. ๒๔๒๐ - ๒๔๓๖
                              ๔. หลวงวินิจจำนง (ผู้รักษาราชการเมือง)        พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๔๑
                              ๕. พระวิชิตคีรี (หลวงคลังกรมการ)    พ.ศ. ๒๔๔๑ – สันนิษฐานก่อนปี พ.ศ. ๒๔๔๔


                       และภายหลังจากถูกยุบเข้าร่วมกับอำเภอลับแล ปรากฏผู้ปกครอง ตำแหน่งกำนัน มีบรรดาศักดิ์เป็น
               “ขุน” ศักดินา ๔๐๐ ไร่ ดังนี้


                              ๑. ขุนพูลพูลปกรณ  ์          กำนันตำบลแม่พูล
                              ๒. ขุนห้วยใต้หิตกิจ          กำนันตำบลห้วยใต  ้
                              ๓. ขุนพันแหวน                กำนันตำบลบ้านพันแหวน


                       อนึ่ง ขุนพูลพูลปกรณ์ กำนันตำบลแม่พูล มีพี่ชายคนโตคือขุนวารีริศธำรงค์ อดีตกำนันตำบลน้ำริด (ในอดีต
               ตำบลน้ำริดอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอลับแล ก่อนจะถูกย้ายเข้ากับอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ใน พ.ศ.
               ๒๔๙๕อย่างเช่นปัจจุบัน) ขุนพูลพูลปกรณ์ผู้นี้ สมชาย เดือนเพ็ญ ให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นผู้สืบเชื้อสายชนชน
                                                                                                           ั้
               ผู้ปกครองของเมืองด่านนางพูนตั้งแต่ก่อนถูกยุบรวมเข้ากับอำเภอลับแล

                       จากหลักฐานข้างต้นทำให้สามารถกล่าวได้ว่า “ด่านนางพูน” แต่เดิมมีสถานภาพเป็นเพียง ชุมชนด่าน
               ด่านหนึ่งของเมืองลับแล และได้รับการยกฐานะเป็น “เมืองด่านนางพูน” เมืองซึ่งขึ้นอยู่ในความปกครองของสยาม
               ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดำรงสถานภาพความเป็นเมืองได้ไม่นาน ก็ถูกผนวกรวมกับเมืองทุ่งยั้งและเมืองลับแล จน

               กลายเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอลับแลในช่วงการปฏิรูปการปกครองของสยามนั่นเอง


















                                                        เมืองด่านนางพูน

                                                          หน้า ๔๘
   771   772   773   774   775   776   777   778   779   780   781