Page 872 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 872

คำอ่าน :

               ส่วนที่ ๑
                       ปีรวงเม็ดเดือน ๕ ออก ๑๓ ค่ำ วัน ๓ (อังคาร)ไชยาดิถีเจ้าเหนือหัวจิ่งเอาริพลไปค้ำยุทธิเสถียงสอง

               แควไปตั้งทับอยู่ท่งย้าง(ทุ่งยั้ง)เมืองฝางจัดเครื่อง

               ส่วนที่ ๒
                       ดูได้สองหมื่นพัน๕ ชาวเชียงหได้ ๔ หมื่น ชาวต่างเมือง ๘ หมื่นเครื่องแล้วไปตั้งทัพอยู่ข้างแม่กั้ง

               ส่วนที่ ๓

                       ในเมืองสองแควอยู่ซาวปลายวันพระญาสองแควจวนเจ้าเหนือหัวไปเอาปากยมได้ผู้กินเมืองปากยมมี
               รูปงามนัก



               ความสำคัญ :
                       เจ้าเหนือหัว (พระญาติโลกราช) ยกริพลจากเมืองเชียงใหม่เพื่อมารับพระญายุทธิษฐิระเจ้าเมืองสอง

                                                                                                   ั
               แคว ครานั้นพระองค์ได้มาตั้งทัพอยู่ที่เมืองทุ่งยั้ง เมืองฝาง (ตำบลผาจุก อำเภอเมืองอุตรดิตถ์) โดยให้จดเครื่อง
               (จัดเหล่าทหาร)
                       ได้สองหมื่นห้าพัน ชาวเชียงใหม่ได้ ๔ หมื่น ชาวต่างเมือง ๘ หมื่นเครื่องแล้วไปตั้งทัพอยู่ข้างแม่กั้ง (แม่

               กั้งคือลำห้วยสายหนึ่งที่ไหลไปรวมกับน้ำแม่ริด ตำบลด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ พื้นที่บริเวณห้วยแม่กั้ง

               นั้นเดิมเป็นพื้นที่การปกครองของเมืองลับแล แล้วโอนเขตพื้นที่ขึ้นกับอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ในช่วง พ.ศ.
               ๒๔๘๙- ๒๔๙๐)

                       ภายหลังจากที่ตั้งทัพอยู่ที่แม่กั้ง พระเจ้าติโลกราชได้เสด็จเข้าอยู่ในเมืองสองแควเป็นเวลา ๒๐ วัน

               ในช่วงเวลานั้นพระญาสองแควได้ชวนพระเจ้าติโลกราชไปรบตีเอาเมืองปากยมจนมีชัยและได้เมืองปากยม
               ผู้ปกครองเมืองปากยมมีรูปงามนัก



               อภิปรายความสำคัญ :
                       ในช่วงเวลาดังกล่าวพระเจ้าติโลกราชคงมีชัยหรือมีพระราชอำนาจเหนือดินแดนแถบนี้ คือ ทุ่งยั้ง เมือง

                                                                                                    ั
               ฝาง แม่กั้ง(พื้นที่เมืองลับแล) สองแคว และปากยม ความในตำนานกล่าวถึงการจัดเหล่าทหารในกองทพซึ่งมี
                                                                                                        ั
               ทหารจากเชียงใหม่ และจากหลายเมือง กล่าวคืออาจมีทหารหรือคนจากเมืองอื่นสมทบเพิ่มเติมในภายหลง
               หลังจากที่ทรงมีชัยเหนือดินแดนแถบนี้แล้ว ซึ่งทำให้พระองค์สามารถตั้งทัพในพื้นที่ของเมืองเหล่านั้น และ

               เสด็จผ่านเข้าเมืองสองแควในเวลาต่อมา

               หมายเหต : เปรียบเทียบกับตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงามเชียงใหม่ จ.ศ. ๑๒๑๖
                        ุ








                                                    ภาคผนวก ~ หน้า ๒ ~
   867   868   869   870   871   872   873   874   875   876   877