Page 940 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 940

ตองซูและพวกจึงร้องขอความช่วยเหลือ พยานรู้จักทราบชื่อโจรผุ้ร้ายกลุ่มนั้น จึงได้ไปแจ้งความแก่กำนันและผ ุ้

                                                                                                         ้
               ใหญ่บ้านทำคำตราสินลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จึงทำการแจ้งความนี้มาเพื่อให้ดำเนินการตามเห็นสมควร แจง
               มาณ วันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีจอ ฉศก

                       รายนามชื่อผู้ร้ายดังนี้

                       นายทองชิง บ้านท่าเสาแขวงเมืองลับแล เป็นบ่าวของ หลวงวัง ๑ คน
                       นายนาก บ้านอยู่เมืองลับแล เป็นบ่าวของพระมหาดไทย ๑ คน

                       นายทับ บ้านอยู่เมืองพิไชย เป็นหลานของพระปลัด ๑ คน

                       นายหว่าง บ้านอยู่เมืองพิไชย เป็นหลานของอำแดงจีน
                       นายแดง  บ้านท่าเสาแขวงเมืองลับแล เป็นบ่าวของหลวงประสิทธิ์ ๑ คน

                       นายนาม นายเกิด นายภุก บ้านท่าเสาแขวงเมืองลับแล เป็นบ่าวของหลวงชุมพล ๓ คน

                       ขุนพิทักษภุมรา เสมียนบุน นายหน่าย นายอินตะ นายบุน บ้านเมืองพิไชย ๕ คน
                       นายฟัก นายย้อย หมื่นภิบาล เชียงพรม บ้านท่าเสาแขวงเมืองลับแล ๔ คน

                       นายกง นายฉิม นายอิน นายโห้ เมืองอุตรดิตถ์ เป็นบ่าวของพระอะไภย ๔ คน

                       นายแก้ว นายเอี่ยมเย บ้านท่าเสา เป็นบ่าวของหลวงมหาดไทย เมืองอุตรดิตถ์ ๒ คน
                       นายต่าย เป็นบ่าวของหลวงนิกร เมืองอุตรดิตถ์ ๑ คน

                       นายจร บ้านอยู่เมืองลับแล เป็นบ่าวของพระทุ่งยั้ง ๑ คน

                       นายมามิ่ง บ้านอยู่เมืองลับแล เป็นบ่าวของหลวงวัง เมืองอุตรดิตถ์ ๑ คน
                       เสมียนปาน เป็นบ่าวของพระลับแล ๑ คน

                       นายดด บ้านท่าเสาแขวงเมืองลับแล เป็นบุตรของนายเนียม
                           ิ
                       นายหอม บ้านท่าเสาแขวงเมืองลับแล เป็นบุตรของอำแดงป้อม
                       นายทิม นายนาก นายสวม บ้านอยู่สีสะหาดแขวงเมืองอุตรดิตถ์

                       นายออด ที่ปล้นมิศกอก ๑ คน


                                                                       ี่
                       จากความดังกล่าวทำให้อนุมานได้ว่า คดีความนี้คงเป็นคดีทมีสำคัญ อาจส่งผลต่อความมั่นคงทางการ
               เมืองระหว่างสยามกับอังกฤษ เพราะมีการโปรดเกล้าตั้งข้าหลวงออกไปชำระความผู้ร้าย เนื่องจากผู้เสียหาย

               และผู้เสียชีวิตเป็นคนในปกครองของอังกฤษ(พม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ) ประกอบกับผู้ร้ายบางคนเป็น
               ข้าราชการสยาม และเป็นบ่าวของข้าราชการสยามจากเมืองลับแล เมืองทุ่งยั้ง เมืองอุตรดิตถ์ เมืองพิไชย การ

               ชำระความหรือพิจารณาคดีจึงต้องกระทำอย่างรอบคอบไม่หวั่นเกรงต่ออำนาจใด เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและ

               ไม่เข้าข้างผู้กระทำผิด









                                                   ภาคผนวก ~ หน้า ๗๐ ~
   935   936   937   938   939   940   941   942   943   944   945