Page 965 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 965

รูปแบบศิลปกรรมวิหารวัดดอนสัก




                       นายธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการกองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ลงพื้นที่สำรวจ
               โบราณสถานและโบราณวัตถุเมืองลับแล ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้ให้ความเห็นว่า

               “ภายในวิหารวัดดอนสัก มีกู่พระเจ้า ซึ่งเป็นกู่ทรงปราสาท ในระบบหลังคาลาดสลับหลังคาซ้อนชั้น มงาน
                                                                                                      ี
               ปูนปั้นประดับอย่างวิจิตร ลวดลายรสนิยมจีนที่แปลงเป็นลวดลายแบบล้านนา สันเหลี่ยมตอนบนประดับ
               ลายกาบบน สันเหลี่ยมตอนล่างประดับลายกาบล่าง การประดับลวดลายปูนปั้นสามารถกำหนดอายุ

               เทียบเคียงได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑”

                                                                                                   ิ
                                                                                                ้
                       (ซึ่งศิลปกรรมล้านนาพุทธศตวรรษที่ ๒๑ คือศิลปกรรมร่วมยุคช่วงปลายรัชสมัยของพระเจาตโลกราช
               จากหลักฐานเชิงประจักษ์นี้อาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่นี้คงตกอยู่ภายใต้พระราช
               อำนาจของพระเจ้าติโลกราชแล้ว)

                                                ั้
                       อีกทั้งโครงสร้างเครื่องบน รับชนหลังคายังเป็นโครงสร้างระบบม้าต่างไหม ซึ่งเป็นการวางโครงสร้างชั้น
               หลังคาแบบล้านนา

                       เสาวิหารเป็นเสาแปดเหลี่ยม สอด้วยปูนขาว  ส่วนบัวหัวเสาเป็นลักษณะบัวคลุ่มหรือบัวโถ อันเป็น

               รูปแบบที่นิยมในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งบัวหัวเสาน่าจะมีการสร้างเพิ่มเติมในช่วงสมัยอยุธยา














































                                                   ภาคผนวก ~ หน้า ๙๕ ~
   960   961   962   963   964   965   966   967   968   969   970