Page 15 - สนทนาภาษาชาวบ้าน ตอนที่ 12 ทิฏฐุชุกัมมในกัมมฐาน
P. 15
จ.วิจิกิจฉานิวรณ์คือความลังเลสงสัย คือนิวรณ์ตัวสุดทา้ยมี อย่างเดียวคือความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ ในที่นี้ ความสงสัยไม่แน่ใจใน ร้อยแปดพันประการ ไม่แน่ใจในการตรัสรู้ ไม่แน่ใจในพระธรรมคํา สอนไม่แน่ใจในพระสงฆ์ไม่แน่ใจในการประพฤติปฏบิตัิจบถา้เรา ทําอะไรไมแ่ นใ่ จ มนั กท็ ําไมไ่ ด้ นเี่ ขาเรยี กวา่ เหยยี บเรอื สองแคม หรอื เห ยยีบหลายๆแคมกไ็มรู่้มนัเปน็อยา่งนี้
นี่เพียงเพียรสองตัวนะ เพียรป้องกันและเพียรละอกุศลธรรม หรือความชั่ว นี่ยังไม่จบ ยังมีตัวเพียรต่อไปอีก
(๓)จิตตกไปในฐานะ๖เราจะต้องเพียรปอ้งกันและเพียรละไม่ ให้จิตตกไปอยู่ในฐานะ ๖ อันนี้ พวกเราทุกคนรู้แล้ว แต่ไม่เคย ประพฤติ ไม่เคยปฏิบัติ ฐานะ ๖ ได้แก่
๑.เพียรไม่ให้จิตแล่นไปสอู่ดีตอารมณ์
๒. เพียรไม่ให้จิตกําหนดในอนาคตอารมณ์
๓. เพียรป้องกันและละไม่ให้จิตหดหู่ ๔.เพียรไม่ใหจ้ิตถือจัดหรือเพียรมากเกินไปทําอะไรแตพ่อดีๆ
มัชฌิมาปฏิปทา ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ผลถึงจะบังเกิด เรามา สังเกตดู สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ ได้ไปทรงศึกษา กับอาฬารดาบสนั่นหย่อนเกินไป พระองค์ก็ไม่เอา ต่อมาพระองค์ ไปทรงค้นคว้า ทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา ซึ่งพวกเราอาจจะเห็นพระพุทธ รูปที่มีแต่กระดูกซี่โครง ไม่สําเร็จอีก จนร้อนถึงพระอินทร์มาดีดพิณให้ ฟังสายพิณตึงไปมันก็ขาด หย่อนเกินไปมันก็ไม่เป็นเพลง เหลือแต่ สายกลางๆจึงเป็นเพลงได้ อันนี้แหละที่พระองค์ถึงไดก้ลับมาฉัน อาหาร ทําอะไรแต่พอดีๆ ทําด้วยปัญญา เพียรจริง แต่เพียรไม่ให้ตึง