Page 63 - ขนมไทยน่ารู้
P. 63
บทสรุป
ขนมไทยมีเอกลักษณ คือความสวยงาม แสดงถึงวัฒนธรรม ความพิถีพิถันใน
์
การกินตั้งแต่อดีต วิธีการทำที่ละเอียด ประณีต ใช้เวลา ผู้ที่จะประกอบอาชีพน จึงต้อง
ี้
มีใจรัก มีความอดทน ขยัน รู้จักเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลายเป็นลูกค้าประจำ ซึ่ง
็
ในความนิยมในการบริโภคขนมไทยของคนไทย โดยเฉพาะเดกรุ่นใหม่น้อยลงมาก ขนม
โบราณหลายชนิดต้องสูญหายไปหรือหารับประทานยาก
จากการสำรวจการบริโภคขนมไทยของคนไทย พบว่าการซื้อขนมไทยเฉลี่ยอยู่ที่
๑,๐๐๐ บาท ต่อปี ซึ่งปัจจุบัน ในภาครัฐ จึงส่งเสริมให้มีการบริโภคขนมไทยและซื้อ
เป็นของฝากมากขึ้น และหวังพัฒนาธุรกิจขนมไทยสู่อุตสาหกรรมตลาดโลก ขนมไทย
หลายชนิดมีศักยภาพส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นขนม
แห้ง เช่น ข้าวตัง ทองม้วน ขนมเปี๊ยะ มะพร้าวแก้ว มะม่วงกวน เป็นต้น ส่วนขนมสด
มีอายุการเก็บรักษาสั้น จึงค่อนข้างมีปัญหา เพราะขนมไทยเป็นอาหารที่มีความชื้นมาก
ถึงแม้จะมีการพัฒนาเพื่อยืดอายุขนมไทยในขั้นตอนการผลิต และการบรรจุแล้วก็ตาม
แต่รสชาติของขนมไม่อร่อยเท่ารับประทานขนมไทยสดๆ
กลุ่มลูกค้าของธุรกิจขนมไทย หลักๆได้แก่ แม่บ้าน คนทำงาน ร้านอาหาร
โรงแรม สายการบิน และกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดบ คือ ระดับล่าง
ั
ระดับกลาง ระดับสูง
ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยในงานพิธีและงานมงคลต่างๆ มาตั้งแต่
ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่า สำรับกับข้าวคาวหวาน ซึ่งขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้าน
วัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะ
วาระสำคัญเท่านั้นเป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรืองานตอนรับแขกสำคัญ
เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น
ขนมประเพณี เช่น ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน ส่วนขนมในรั้วในวังจะ
มีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีต วิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยมีมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยเป็นสยามประเทศได้ติดต่อ
ค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการค้า
ขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินอยู่