Page 13 - 1-ebookสายอากาศ
P. 13

3




                         2.  ข้อจำกัดด้านเทคนิค

                           สถานีวิทยุจุฬาฯมีความพร้อมด้านอุปกรณ์การออกอากาศ เช่นห้องบันทึกเสียงและอุปกรณ์

                  เชื่อมโยงสัญญาณจะเป็นดิจิทัลทั้งระบบ ส่วนเครื่องส่งของสถานีวิทยุจุฬาฯในปัจจุบันที่ใช้งานยังเป็นระบบ

                  ระบบอนาล็อก ยี่ห้อ Rohde & Schwarz ชนิด Solid State ขนาดกำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ผลิตจากประเทศ

                  เยอรมันเนื่องจากประเทศไทยเราทาง กสทช. ยังอยู่ระหว่างการศึกษามาตรฐานการเปลี่ยนผ่านการส่ง

                  กระจายเสียงเป็นระบบดิจิทัล  เสาอากาศส่งสัญญาณมีความสูง 150 เมตร ที่ติดตั้งสายอากาศแบบไดโพล

                                                                   ื่
                  ยี่ห้อ Kathrin บนยอดเสา จำนวน 12 อิลิเมนต์ 3 ทิศทางเพอให้มีรัศมีการกระจายคลื่นแบบรอบตัว

















                                      รูปที่1.1 แสดงอุปกรณ์ต่างๆของสถานีสำหรับออกอากาศวิทยุจุฬาฯ


                         ก่อนปี พ.ศ. 2550 ข้อมูลการสำรวจด้านทางเทคนิค  พบว่า รัศมีการกระจายเสียงของสถานีวิทยุ
                                                                    [5]
                  แห่งจุฬาฯ   มีวงกว้างประมาณ 250 กิโลเมตรจากศูนย์กลาง ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง ประมาณ 25

                  จังหวัด  คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี

                  ชัยนาท ลพบุรี อุทัยธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
                  นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี

















                         รูปที่1.2 รัศมีการแพร่กระจายคลื่นของสถานีวิทยุจุฬาฯปี 2550 ก่อนการอนุญาตตั้งวิทยุชุมชน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18