Page 161 - E-Book-Teerapong-รวมผลงานSandbox
P. 161

(บทคัดย่อ ภาษาไทย จ านวน 1 หน้ากระดาษ)







                        โครงการ การโอนถ่ายข้อมูลภาพถ่ายรังสีทางการแพทย์ (PACS) ผ่านระบบ

                                                      เครือข่ายไร้สาย 5G

                                                        ผศ.ทพ.กิติ ศิริวัฒน์

                                                          กันยายน 2563


                       บทนำ: ด้วยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชารังสีวิทยา ได้นำระบบ PACS (Picture
                       Archiving and Communication System) ซึ่งเป็นระบบงานด้านการเก็บรูปภาพทางการแพทย์หรือภาพถ่ายทาง
                       รังสี มีการรับ-ส่งข้อมูลภาพในรูปแบบดิจิตอล  มาใช้ในการจัดการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จาก
                       ภาควิชารังสีไปยังคลินิกต่าง ๆในคณะ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปีและในปัจจุบันมีการขยายการส่งข้อมูลไปยัง Unit
                       ทันตกรรม (เก้าอี้ทำฟัน) ในแต่ละตัวโดยตรง ทั้งนี้โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์มีแผนการขยาย Unit ทันตก
                       รรมจากในปัจจุบันจำนวนประมาณ 400 ตัว ไปเป็น 600 ตัวซึ่งทำให้ต้องมีการเพิ่มเติมขยายจุดให้บริการดูภาพถ่าย
                       รังสี โดยต้องมีการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์รองรับไว้ด้วย จึงเกิดความไม่สะดวก มีค่าใช้จ่ายและเกิดความล่าชา ้
                       ในการดำเนินการ ดังนั้นการรับ-ส่งข้อมูลภาพในรูปแบบดิจิตอลผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง
                       จึงจำเป็นต่อการให้บริการรักษาคนไข้ของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                       วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการดาวน์โหลด (ความเร็วในการรับข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต) ระหว่าง
                       เทคโนโลยีเครือข่าย 5 ประเภท ได้แก่ LAN, ChulaWiFi, 4G, 5G Customer-Premises Equipment (CPE)
                       ร่วมกับระบบ Cable (5G wire)  และ 5G Customer-Premises Equipment (CPE) (5G wireless)

                       ระเบียบวิธีวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) เปรียบเทียบความเร็วในการ
                       ดาวน์โหลดภาพรังสีทางทันตกรรมระหว่าง LAN, ChulaWiFi, 4G, 5Gwire, 5Gwireless ระบบละ 28 ภาพจาก
                       Cloud Server ของข้อมูลไฟล์ PACS ไปยังคอมพิวเตอร์ภาคพื้นดินในคลินิกทันตกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ
                       ได้แก่ (1) คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (2) ระบบ LAN ที่เชอมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคณะ (3) อุปกรณ์เครือข่าย
                                                            ื่
                       ChulaWiFi (4) อุปกรณ์ Air Card 4G (5) Customer-Premises Equipment (CPE) สถานที่ทดสอบในคณะทันต
                       แพทยศาสตร์จุฬาฯ ได้ดำเนินการใน 3 อาคารดังต่อไปนี้ (1) อาคารสมเด็จย่า ๘๓ ชน 1, 9 และ 11 (2) อาคารทันต
                                                                                   ั้
                                                ั้
                       แพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช ๘o ชน 3, 6 และ 11 และ (3) อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ชน 1, 3 และ 12 ข้อมูล
                                                                                         ั้
                                                                                                       ้
                       ความเร็วในการดาวน์โหลดคำนวณเป็นเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) วิเคราะห์การเปรียบเทียบแบบพหุคูณโดยใชการ
                       ทดสอบฟรีดแมน (Friedman test)
                       ผลการศึกษา: ข้อมูลค่ามัธยฐานของเทคโนโลยีเครือข่ายที่ทดสอบจากความเร็วในการดาวน์โหลดสูงไปต่ำ ได้แก่
                       5Gwire, 5Gwireless, LAN, ChulaWiFi และ 4G ตามลำดับ ผลการทดสอบความแปรปรวนของ Friedman เผย
                       ให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการประเมินทั้ง 3 อาคาร (p-value <0.001) การเปรียบเทียบ
                       หลายครั้ง (Multiple comparisons) บ่งชี้ผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน


                       บทสรุป: การใชระบบ PACS ผ่าน 5G Customer-Premises Equipment (CPE) รวมกับระบบ Cable (5G wire)
                                  ้
                       มีผลความเร็วในการ Download ภาพรังสีทางทันตกรรมสูงที่สุด อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องเตรียมโครงสร้างเครือข่าย
                       ใหม่สำหรับทั้งเทคโนโลยีไร้สายและเครือข่ายเคเบิลกระแสหลัก เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานของการ
                       ปรับใชเครือข่าย 5G ในระบบสุขภาพต่อไป
                            ้




                                   ั
                            ี่
                       [เลขทสัญญารบทุนE.๖๒-๐-(๒)-๐๐๑]                                                                                           5
                                                                                       แบบ กทปส. ME-003
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166