Page 72 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 72

ี่
               8. คุณลักษณะทพึงประสงค์/ค่านิยม 12 ประการ (Desirable Characteristics/The twelve values)
                   1.  มีวินัย
                   2.  ใฝ่เรียนรู้
                   3.  มุ่งมั่นในการทำงาน

                   4.   มีจิตวิทยาศาสตร์

               9. ภาระงาน/ชิ้นงาน (Products /Assignments )

                   สังเกตแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อวัตถุต่างๆ

               10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
                   จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                      1. ครูถามคำถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น

                     – สิ่งที่แม่เหล็กสามารถดึงดูดได้เรียกว่าอะไร (แนวคำตอบ สารแม่เหล็ก)
                      2. นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน

                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
                       1. ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องผลของแรงแม่เหล็ก จากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบาย

               ให้นักเรียนเข้าใจว่า นอกจากแม่เหล็กจะสามารถดึงดูดหรือผลักแม่เหล็กด้วยกันได้แล้วยังสามารถดึงดูดสาร
               หรือวัตถุบางชนิดได้อีกด้วย โดยสารหรือวัตถุที่แม่เหล็กสามารถดึงดูดได้นี้เรียกว่า สารแม่เหล็ก ส่วนใหญ่สาร

               แม่เหล็กจะเป็นโลหะ เช่น เหล็ก นิกเกิล และโคบอลต์ ส่วนสารที่ไม่เป็นสารแม่เหล็ก เช่น พลาสติก อะลูมิเนียม
               สังกะสี และทองแดง

                       2. ครูแบ่งนักเรียนกลุ่มละ 3 – 4 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อวัตถุต่างๆ ตาม
               ขั้นตอน ดังนี้

                       – สำรวจวัตถุไม่ซ้ำกันมา 10 ชนิด เขียนชื่อวัตถุที่สำรวจพบและวัสดุที่ใช้ทำวัตถุชนิดนั้น
                       – นำแม่เหล็กมาสัมผัสวัตถุแต่ละชนิด แล้วสังเกตว่ามีแรงดึงดูดหรือไม่
                       – จำแนกประเภทของวัตถุต่างๆ โดยใช้การดึงดูดของแม่เหล็กเป็นเกณฑ์ บันทึกผล และสรุปผล

                     3. ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาสให้
               นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา


                     ขั้นอธิบายและลงขอสรุป (Explanation)
                                     ้
                      1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าห้องเรียน
                      2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น

                      – วัสดุที่แม่เหล็กสามารถดึงดูดได้มีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ เหล็กเคลือบด้วยนิกเกิลและเหล็ก)
                      – วัสดุที่แม่เหล็กไม่สามารถดึงดูดได้มีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ ทองแดง อะลูมิเนียม พลาสติก ไม้ และ
               ยาง)
                      3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่า แม่เหล็กดึงดูด

                                    ี่
                          เฉพาะวัตถุททำมาจากเหล็กหรือโลหะบางชนิดเท่านั้น
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77