Page 23 - Flower Book
P. 23
ทองกวาว
ชื่อพื้นเมือง ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) aub.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ Bastard teak, Bengal kino,
Kino tree, Flame of the forest
ชื่ออื่นๆ กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองต้น
ถิ่นก าเนิด แถบเอเชียใต้ จากประเทศไทย ลาว กัมพูชา
เวียดนาม มาเลเซีย ศรีลังกา เนปาล
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ล าต้น ไม้ยืนต้น สูง 12-18 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม สีน้ าตาลอ่อน
การแตกกิ่งก้านทิศทางไม่เป็นระเบียบ กิ่งอ่อนมีขนละเอียดหนา
ใบ ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่
แกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาดใหญ่สุด ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว
มีขอบใบเรียบ โคนเบี้ยว ปลายมน
ดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบและตามปลายกิ่ง ดอกสีแสด ฐานรอง
ดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่มี 5 กลีบ แบ่งเป็นกลีบ
กลาง 1 กลีบ กลีบคู่ข้าง 2 กลีบแยกออกทั้ง 2 ข้าง และกลีบคู่ล่าง ที่เชื่อมติดกัน
2 กลีบ เกสรผู้ 10 เกสร แยกเป็นอิสระ 1 เกสร อีก 9 เกสร โคนก้านเชื่อมติดกัน
เป็นหลอด
ผล เป็นฝักแบน มีสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลอมเหลืองเมื่อแก่เต็มที่
ที่ฝักมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน
ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ดอกใช้ย้อมสีผ้า โดยจะให้สีแดง
ใบสดน ามาใช้ห่อของ
สรรพคุณทางยา ราก ช่วยบ ารุงธาตุ ใช้ต้มรักษาโรคประสาท ดอก ใช้ต้มดื่มช่วย
ถอนพิษไข้ได้ หยอดตาแก้อาการตาแดง เจ็บตา ปวดตา ระคายเคืองตา ยาง แก้