Page 46 - Flower Book
P. 46
ชมพูพันธุ์ทิพย์
ชื่อพื้นเมือง ชมพูพันธุ์ทิพย์
์
ชื่อวิทยาศาสตร Tabebuia rosea (Bertol.) DC.
์
ชื่อวงศ BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ Pink Tecoma, Pink Trumpet Tree
ชื่ออื่นๆ ชมพูอินเดีย, ธรรมบูชา, ตาเบบย่า,
ู
พันธุ์ทิพย์, แตรชมพู
ถิ่นก าเนิด เขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับทองอุไรและศรีตรัง สูง
ราว 8 - 12 เมตร
ใบ เป็นแบบผสม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ปลายใบแหลม ยาว
ประมาณ 12 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น เรือนยอดรูป
ไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบ สีเทา
หรือสีน้ าตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง
ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอก
ผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ
กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ดอกย่อยแต่ละดอกกว้าง
ราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร และร่วงหล่นง่าย
ประโยชน์ นิยมน าไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ
สวนสาธารณะ และตามถนนหนทางแต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้
สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก
สรรพคุณทางยา ใบ ต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ต าให้ละเอียดใส่แผล
ล าต้น ใช้ท าฟืน และเยื่อใช้ท ากระดาษได้