Page 357 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 357
B4-103
19th HA National Forum
จากปัญหาที่เกิดขึ้น และความยากลาบากในการจัดการ จึงได้กาหนดแนวทางป้องกันการระบาดของเช้ือดื้อยารุนแรงท่ีอาจเกิดซ้า ในอนาคตของโรงพยาบาลน่าน ประกอบด้วย Active Surveillance เพิ่มแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยท่ีสงสัยโดยใช้ Lab Alert และ Clinical Alert คือ พบเชื้อจากผลเพาะเชื้อ ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีการดื้อยา ผู้ป่วยระบบทางเดินปัสสาวะ และผู้ป่วยที่รับส่งกลับจากโรงพยาบาล ขนาดใหญ่ Antimicrobial Stewardship Program ควบคุมการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ 6 กลุ่มสาคัญโดยการทา Prospective audit and feedback เน้นการ step down, remove source of infection จากัดการนาเข้ายาปฏิชีวนะในบัญชียาโรงพยาบาล Infection Control โดยใช้มาตรการ CHIPPEE การ Big Cleaning โรงพยาบาล และ Check list แนวปฏิบัติกรณีพบเชื้อดื้อยา
บทส่งท้าย
การแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลจาเป็นต้องมีกรอบในการจัดการอย่างบูรณาการมีการวิเคราะห์ข้อมูลการติดเชื้อ สรุปผล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ด้านการดื้อยาเพื่อเชื่อมโยงกับสภาพปัญหา นาไปสู่มาตรการท่ีเหมาะสมในการตอบโต้สถานการณ์ที่คุกคามอย่างเป็น ระบบตั้งแต่การกาหนดนโยบายโดยคณะกรรมการการจัดการเช้ือด้ือยาในโรงพยาบาล มีการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ควบคุม กากับ ดูแลการใช้ ยาต้านจุลชีพ การควบคุมการติดเชื้อตามมาตรฐานที่กาหนด โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ความสาเร็จของ องค์กรในการตอบสนองนโยบายระดับประเทศ และแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
ข้อค้นพบใหม่ทีไ่ด้จากเรือ่ง
กลยุทธการดูแลแบบ Home Ward ในผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิตที่ให้การดูแลแบบประคับประคองซ่ึงเป็นผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ที่เป็นแหล่งแพร่ กระจายเช้ือด้ือยามีความสาคัญในการลดขนาดของปัญหาการติดเชื้อด้ือยา เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีหัตถการลุกล้าร่างกาย (Invasive Treatment) และกิจกรรมการดูแลค่อนข้างมาก มีแผนการดูแลท่ีชัดเจนภายหลังการจาหน่ายเพื่อดูแลต่อที่บ้าน มีการติดตามเยี่ยมโดยทีมของโรงพยาบาลชุมชน ในพื้นที่ ดังกรณีของโรงพยาบาลน่านท่ีเสริมพลังผู้รับบริการกลุ่มนี้ทั้งผู้ป่วยและครอบครัว จนกระท่ังเป็นส่วนหนึ่งของความสาเร็จในการแก้ปัญหา เช้ือดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล
357 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)