Page 402 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 402

A2-105-A
19th HA National Forum
 “ทาไมต้องพัฒนา ECS” จากการศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบ ECS ในต่างประเทศพบว่า 1) ลดการเสียชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน 30-40% 2) ลดจานวนปีที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร 40ปี/การเสียชีวิต 1 คน 3) เป็น 1 ใน 6 มาตรการด้านสุขภาพที่มี Cost-Effectiveness จากการศึกษาของ World bank
ในการมารับบริการแต่ละคร้ังสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการคือ Value ซึ่ง Value คือมุมมองของผู้รับบริการไม่ใช่มุมมองของผู้ให้บริการ Value Based คือการมอบคุณค่าให้ผู้ป่วยด้วยคุณธรรมทาให้เกิดคุณภาพ
Value Based Health Care = Health Outcome เช่น การดูแลรักษาคนไข้รอดแต่ค่าใช้จ่ายสูงแสดงว่าไม่ Value Cost หรือรักษาคนไข้ ไม่รอดแต่ค่าใช้จ่ายต่าก็แสดงว่าไม่ Value ท่ีถือว่ามี Value คือ Good Health at low Cost
Valueใน LEAN คือการลด Waste Value ใน Version 4.0 คือ ทาน้อยได้มาก
Value Based ECS คือ ระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินบนพ้ืนฐานของคุณค่า
คุณภาพที่ผู้ป่วยต้องการคือเท่าเทียม ทั่วถึง ทันเวลา คุ้มค่า ต่อเนื่อง ปลอดภัย ประทับใจ ในภาวะฉุกเฉินเป้าหมายการดูแลคือ save life,
save limb, save function จึงจาเป็นต้องสร้าง ระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินแบบเครือข่ายที่ไร้รอยต่อน่ันคือ One ECS หรือ Integrated Net- work of Emergency Care System เป็นระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่มีการบูรณาการเครือข่ายไร้รอยต่อเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินและบุคลากรทางการ แพทย์มีความปลอดภัย (2P Safety) ซึ่ง 2P Safety หมายถึง ผู้ป่วยฉุกเฉินและบุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัย
องค์ประกอบระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินบูรณาการเครือข่าย (Integrated Network of Emergency Care System) ได้แก่ 1) Chain of Survival คือ การพัฒนาห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตโดยเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (Pre-hospital care) การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ในโรงพยาบาล (Emergency room) และการดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน และการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (Definitive Care) 2) ER Standard of Care คือ มีการกาหนดมาตรฐานการบริการห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลแต่ละระดับ (Standard of care) กาหนดมาตรฐานระบบส่งต่อผู้ป่วยเจ็บป่วย ฉุกเฉิน (Emergency Care Referral Network ) 3) Quality คือ การรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินบนพื้นฐานคุณค่าเน้นคุณภาพและมาตรฐานการมุ่งเน้น ความปลอดภัยของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินและผู้ให้บริการ
ระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินจาเป็นต้องมีการพัฒนาเป็นเครือข่าย เช่ือมโยงกันโดยไม่มีขอบเขตทางภูมิศาสตร์ (Boundaries) เพื่อให้ผู้ ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียม ท่ัวถึง ทันเวลา และได้รับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษาในภาวะฉุกเฉินนั้น เช่น ผู้ป่วย Stroke เกิดอาการที่อาเภอหรือชุมชนระบบจาเป็นต้องส่งมารักษาในโรงพยาบาลชุมชน หลังจากน้ันจึงส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลท่ีเป็น Stroke Center ทาให้การรักษาล่าช้า ระบบการ
รักษาพยาบาลฉุกเฉินที่พึงประสงค์ควรมีแนวทางในการส่งผู้ป่วยมายัง Stroke Center ทันที หรือมีการ Consult แพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าน Tele stroke
  สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)   402






















































































   400   401   402   403   404