Page 407 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 407

A2-105-B
19th HA National Forum
 โครงการฯนี้โรงพยาบาลราชวิถีมีการสรุปข้อมูลเป็นแบบ one page สามารถดาวโหลดเอกสารเช่น ใบยินยอมจาก webpage เพื่อลด เอกสารและลดภาระงานที่ไม่จาเป็น ความท้าทายในการพัฒนาระบบบริการ ODS คือ การเพิ่มองความรู้ให้ทั้งระบบสุขภาพ ทั้งแพทย์และพยาบาล การปรับเปล่ียนวิธีการปฏิบัติในการรักษาด้วย Local anesthesia โดยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และการอบรม โครงการนี้กาลัง ปรับปรุงให้ใช้ได้ทุกสิทธิในการรักษาจึงต้องปรับระบบเบิกจ่ายสิทธิการรักษาทั้ง 3 สิทธิ คือ สปสช. กรมบัญชีกลาง ประกันสังคม ได้เบิกค่าใช้จ่าย แบบ ODS ใกล้เคียงกับการนอนโรงพยาบาล
ผศ.พญ.ฐิติกัญญา ดวงรัตน์
เล่าถึงประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดในต่างประเทศ โรงพยาบาลท่ีต่างประเทศเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก แต่สามารถรับ Case หนักๆ เพราะเขาเตรียมตัวผู้ป่วยมาจากนอกโรงพยาบาลเพ่ือมาทาการผ่าตัดในโรงพยาบาล การรับผู้ป่วยไว้นอนโรงพยาบาลน้อยมาก มีการควบคุม คุณภาพการบริการ ในขณะที่โรงพยาบาลในประเทศไทยเกิดภาวะความแออัด ต้องอาศัยการพัฒนาระบบ (system) ความปลอดภัยและการอาศัย ความร่วมมือของทีมงาน และความไว้วางใจ (trust) ของผู้ป่วย ซึ่งทีมวิสัญญีได้เข้ามาร่วมงานและพัฒนาการดูแลหลังจากท่ีได้ร่วมทีมประเมินไปกับ อาจารย์ธัญเดช การดูแลผู้ป่วยที่บ้านต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกันเพื่อทาให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าเขาจะสามารถดูแลตัวเองได้ดีในระดับหนึ่ง ต้องมี ระบบการให้คาปรึกษาที่คอยดูแลเขาตลอดเวลา เข้ากับแนวคิดราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ ท่ีมี motto ว่า “Safety and quality for all” หมายถึง คุณภาพท่ีดีทุกชีวีปลอดภัย จึงมีการกาหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทั้ง inclusion และ exclusion criteria ว่าผู้ป่วยกลุ่มไหนบ้างที่ ควรนาเข้าในโครงการ ODS อาศัยคุณภาพการดูแลตลอดของการผ่าตัด รวมทั้งผู้ป่วยกลับบ้านทันทีหลังการผ่าตัดจึงต้องมี discharge criteria ดังนั้นวิสัญญีแพทย์ต้องระวังในเรื่องของภาวะแทรกซ้อน หรือเหตุการณ์ที่ความไม่พึงประสงค์อ่ืนๆ เช่น การดูแลความเจ็บปวด เป็นต้น รวมถึง มาตรฐานการดาเนินโครงการในโรงพยาบาล F1 และ F2 ที่วิสัญญีแพทย์ต้องทางานคู่กันกับศัลยแพทย์ เช่น การใช้เกณฑ์ ASA (American society of anesthesiologist) ในการประเมินผู้ป่วย ยกตัวอย่าง คือ ASA class I-II สุขภาพดี มีโรคประจาตัว class III โรคประจาตัว มีอาการ แต่ควบคุม ได้ ดังนั้น ASA class I-III ข้ึนอยู่กับความพร้อมของแต่ละ รพ. และต้องมีการประเมิน function reserve จากวิสัญญีแพทย์ เป็นต้น อาศัยใช้ ความร่วมมือและความเข้าใจของทุกภาคส่วนไม่ใช่แต่แพทย์และวิสัญญีเท่านั้น พยาบาลก็มีความสาคัญมากๆ ที่จะให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ทั้งเร่ืองการ แพ้ยา ความเสี่ยงสูงของการให้ยา ปัญหาทางคลินิกอื่นๆ กรณีมีโรคร่วม วิสัญญีต้องเข้าไปประเมินคุณภาพการดูแล ก่อน ระหว่างและหลังผ่าตัด มีการอธิบายแนวทางการรักษาแบบวันเดียวกลับ มีแนวทางประเมินผู้ป่วยร่วมกับทีมวิสัญญีโดยเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย สามารถปรับแนว ปฏิบัติให้ยึดหยุ่น เปลี่ยนเป็นนอนโรงพยาบาล เช่น กรณีผ่าตัดนานมากกว่า 2 ชั่วโมง เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด/ให้ยาระงับความรู้สึก หรือเสียเลือดมากกว่า 500 มล หรือ 7 มล. ต่อ กิโลกรัม ในเด็กไม่สามารถส่งผู้ป่วยกลับบ้านได้ในเวลาท่ีเหมาะสม เป็นต้น ต้องมีการทบทวนพัฒนา ระบบหลังผ่าตัด ขึ้นกับดุลยพินิจความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยทีมแพทย์ผู้ดูแลและผู้ป่วย มีระบบมาตรฐานแนวทางการให้คาปรึกษา เพื่อให้ผู้ป่วย มีความมั่นใจในระบบการรักษาว่ามีการส่ือสารนัดหมายให้ถูกต้อง และท่ีโรงพยาบาลศิริราชเองก็มีการจัดตั้งศูนย์ประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัด เฉพาะวสิ ญั ญี อยใู่ น OPD โดยมวี ตั ถปุ ระสงคค์ อื ลดการเลอ่ื นการผา่ ตดั เพอื่ ใหม้ กี ารใชเ้ ตยี งผา่ ตดั ใหเ้ กดิ ประโยชนส์ งู สดุ ใชม้ าตรฐานระงบั ความรสู้ กึ ที่ ประกาศในราชวทิ ยาลยั วสิ ญั ญแี พทยแ์ หง่ ประเทศไทยรวมถงึ ไดก้ ลา่ วถงึ มาตรฐานของสถานทอี่ ปุ กรณ์ บคุ ลากร การประเมนิ ความเจบ็ ปวดและภาวะ แทรกซ้อนด้านอ่ืนๆ หลังการผ่าตัด ด้วยการประเมินแบบ Checklist มีข้อแนะนาอาการที่จะต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด หรือภาวะ emergency ต่างๆ ท่ีต้องติดต่อแพทย์/พยาบาล และการติดตามหลังการผ่าตัดภายใน 24 หรือ 72 ชม. ในต่างประเทศสาหรับผู้ป่วยท่ีจะกลับบ้านมีเกณฑ์การประเมิน สาหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องพักฟ้ืนและสามารถกลับบ้านไปได้เลย
นพ.วิบูลย์ ภัณฑบดีกรณ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ ODS โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็น รพ.ระดับ S ขนาด 540 เตียง อัตราการครองเตียงอยู่ ที่ 111% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว และสวนทางกับบุคลากรที่จานวนไม่มากพอกับจานวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น อาจารย์เป็นศัลยแพทย์และทั่วไปเน้นผ่าตัด hernia จนเรียกตัวเองว่าเป็น hernia specialist ประสบการณ์ทางานเป็นศัลยแพทย์มามากกว่า 20 ปี และผ่าตัดได้ทุกชนิดตั้งแต่หัวจรดเท้า พบปัญหาของโรงพยาบาลที่สาคัญ คือ ความแออัด ในผู้ป่วยผ่าตัด จะต้องมานอน รพ.ล่วงหน้า 1 วัน ถ้าบ้าน อยู่ไกลก็ต้องมานอนสัก 2-3 วัน ผ่าตัดอีกหนึ่งวัน ทาให้ต้องนอนโรงพยาบาลหลายวัน ตั้งแต่การเตรีมการผ่าตัด จนตัดไหมจึงได้กลับบ้าน
  407   สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)



























































































   405   406   407   408   409