Page 4 - ใบความรู้หน่วยที่ 2
P. 4
1.1.4 ค้อนหงอน(Carpenter Hammer) หรือค้อนช่างไม้ ใช้สำหรับถอนตะปูหรืองัดชิ้นงาน
ส่วนล่างมีลักษณะกลม ผิวหน้าแบนเรียบ เหมาะสำหรับช่างไม่ใช้ตอกตะปู ทำให้ไม่ลื่นขณะตอก
.
รูปที่ 2.4 แสดงลักษณะค้อนหงอน
1.2 ค้อนหัวอ่อน ทำมาจากวัสดุอ่อน เช่น ไม้ พลาสติก หนังยาง เป็นต้น เพอใช้ตี ตัดชิ้นงานที่มีผิว
ื่
อ่อน เคาะขึ้นรูปเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหน้าของโลหะเป็นรอย และโลหะเคลือบไม่ให้หลุดออกมา
ค้อนหัวอ่อน แต่ละชนิดมี ดังนี้
1.2.1 ค้อนค้อนไม้ (Wooden Mallet) เหมาะสำหรับการดัด พับ ขึ้นรูปโลหะแผ่นบาง หรือ
แผ่นโลหะเคลือบผิว เพอป้องกันผิวเคลือบไว้ลอกขณะเคาะ
ื่
รูปที่ 2.5 แสดงลักษณะของค้อนไม ้
(ที่มา : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/ce/Hammer-wood.jpg)
ี
1.2.2 ค้อนยาง (Rubber Hammer) หัวค้อนทำมาจากยางพาราซึ่งผ่านกรรมวิธีทางเคมทำให้
เกิดสีดำ ลักษณะยางเหนียวและนุ่ม เหมาะสำหรับดัดเคาะขึ้นรูปโลหะแผ่นบางมากๆ หรืองานที่มีเนื้ออ่อน
เพื่อช่วยรักษาผิวงาน
รูปที่ 2.6 แสดงลักษณะของค้อนยาง
(ที่มา : http://dk.lnwfile.com/_/dk/_raw/78/sp/b3.jpg)
1.2.3 ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) หัวค้อนทำด้วยพลาสติกแข็งประกอบติดกับแท่ง
อะลูมิเนียมหล่อด้วยการขันเกลียว สามารถถอดเปลี่ยนขนาดน้ำหนักของหัวค้อนได้
รูปที่ 2.7 แสดงลักษณะของค้อนพลาสติก
ข้อควรระวังในการใช้ค้อน
1. ใช้ค้อนให้ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะงาน
2. ควรซ่อมคอนที่มีด้ามหลวมก่อนนำไปใช้งาน
้
3. การใช้งานควรตีหรือตอกให้หน้าค้อนสัมผัสงานเต็มหน้าหลังการใช้งาน เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย