Page 17 - วรรณกรรมมัธยม
P. 17

อ่าง กระถาง ของชาวสามโคก และที่เห็นเป็นที่โดดเด่นนับว่าเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับเรื่องอาหาร
                  การกิน ไม่มีใครปฏิเสธในความอร่อยและมีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต” พูดถึงเรื่องก๋วยเตี๋ยว

                  เรือรังสิต  ครูวารีได้เล่าเสริมให้พวกเราฟังว่าสมัยที่ครูเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยครูพระนคร ในปีพุทธศักราช
                  2516 ตรงบางเขนใกล้ๆ กับรังสิตนี่เอง ครูได้มีโอกาสมาชิมก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับที่รังสิตซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยวที่มี

                  ชื่อเสียงมากในอดีต แทบทุกร้านจะเขียนป้ายหน้าร้านว่าก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับบ้าง โกฮับเจ้าเก่า ลูกโกฮับ
                  หลานโกฮับ บางร้านเขียนว่าโกฮับตายแล้วร้านนี้สูตรดั้งเดิม เป็นการน าชื่อเสียงของโกฮับ มาเป็นจุดขาย

                  แสดงให้เห็นว่าของแท้ดั้งเดิมที่รสอร่อยต้องสูตรโกฮับ จนกระทั่งครูได้มาสอนหนังสือที่โรงเรียนใน
                  เขตเทศบาลนครรังสิตแห่งนี้ก็ได้มีการสืบค้นสอบถามและอ่านจากหนังสือหลายเล่ม และการสัมภาษณ์
                  คนเก่าแก่ที่ตลาดรังสิต พอสรุปได้โดยสังเขป จึงทราบว่านายโกฮับมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีน ชื่อเต็มคือ

                  นายโกฮับ แซ่ภู่ เป็นชาวจีนไหหล า โดยสารเรือมาจากเกาะไหหล า ประเทศจีนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2
                  อาศัยบ้านอยู่หลังโรงพักเก่าที่ริมทางรถไฟ ปัจจุบันบ้านหลังนี้ไม่มีสภาพหลงเหลือเป็นบ้านที่โกฮับเคยอาศัย

                  อยู่แล้ว  โกฮับมีภรรยาเป็นคนไทยไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อ ส่วนใหญ่เรียกกันว่าซ้อ มีลูกชายชื่อ นายเฮง
                  ส่วนลูกสาวไม่ปรากฏชื่อ เรื่องครอบครัวของโกฮับจึงไม่มีใครทราบรายละเอียดที่แท้จริงนอกจากเล่าต่อ

                  กันมา โกฮับเป็นเจ้าแรกที่ริเริ่มขายก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต (เรือส าปั้นพาย) เมื่ออายุราว 30  ปี ปีพุทธศักราช
                  2475 ขายก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัว พายเรือขายตามคลองรังสิต ชามละ 3 สตางค์ ลักษณะของเรือ

                  จะเป็นเรือส าปั้นพาย  มีโอ่งน้ าตั้งที่หัวเรือ  มีกระจาดผักอยู่ด้านหลัง ก๋วยเตี๋ยวโกฮับจะมีรสชาติอร่อย
                  ถูกปากลูกค้า เพราะจะหั่นเนื้อชิ้นใหญ่เนื้อก็สด เคล็ดลับความอร่อยของโกฮับคือ น้ าตกเนื้อจะมีลักษณะ
                  หั่นชิ้นเนื้อวางบนน้ าแข็ง และเมื่อน้ าแข็งละลายออกมา เลือดของเนื้อสดจะตกลงมาทีละน้อย จึงเรียกว่า

                  “ก๋วยเตี๋ยวเนื้อน้ าตก”  โกฮับจะพายเรือช้าๆ ขายไปเรื่อยๆ ตอนเที่ยงจะมาจอดขายใต้ถุนสะพานแก้วนิมิต
                  ฝั่งใต้คนงานอู่เรือขุด (ชลประธานรังสิตใต้) หยุดพักเที่ยงจะพากันมาซื้อรับประทาน พวกผู้คนที่ท างานอยู่ที่

                  ดอนเมืองกรุงเทพฯ หรือแถบใกล้เคียงก็จะพากันมารับประทานเป็นจ านวนมาก เล่ากันว่าคลองรังสิต
                  สมัยนั้น บ้านเรือนอยู่ห่างกันไม่หนาแน่นเหมือนเดี๋ยวนี้ น้ าในคลองใสสะอาด เมื่อโกฮับล้างชามจะมองเห็น

                  ปลาแหวกว่ายเพื่อกินเศษอาหาร ไม่มีต้นหญ้าหรือผักตบชวา มองดูสะอาดและสวยงามน่าดูในช่วงเวลาที่
                  โกฮับ พายเรือขายก๋วยเตี๋ยวเนื้อ นั้น  ก็มีคนจีนคนหนึ่งพายเรือขายก๋วยเตี๋ยวหมูในคลองรังสิต  เช่นเดียวกัน

                  คือ  เจ๊กชุนเกา ซึ่งปัจจุบันลูกหลานได้ย้ายขึ้นมาขายในตึกติดตลาดรังสิต  ชื่อร้านอร่อยเด็ด  โกฮับได้เลิก
                  ขายก๋วยเตี๋ยวเรือ ในปีพุทธศักราช 2494 เมื่ออายุ 67 ปี  และในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็น
                  นายกรัฐมนตรี ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีพุทธศักราช 2484 – 2485 เกิดน้ าท่วมใหญ่ วัว ควาย หมู

                  เป็ด ไก่ จมน้ าตายเป็นจ านวนมาก บ้านเมืองเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ า ประชาชน  อดอยากยากจน จอมพล
                  ป.พิบูลสงครามเห็นว่าชาวบ้านยากจนไม่มีข้าวหุงกิน ให้หุงข้าวต้มใส่ผัก เผือกมันกินประทังชีวิต และ

                  ชักชวนให้คนไทยท าก๋วยเตี๋ยวขาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากนั้นมาก็มีก๋วยเตี๋ยวขายกันแพร่หลาย
                  ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
                                       ยุคแรกพายเรือส าปั้นขายตามคลองรังสิต กลางวันจอดขายที่ใต้ถุนสะพานแก้วนิมิต และ

                  ปากคลองสว่านใกล้สะพานแก้วนิมิต มีโกฮับ กับเจ๊กชุนเกา ขายในยุคนี้











                                                             17
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22