Page 40 - วรรณกรรมมัธยม
P. 40

เชิญแฟนให้ชิมลิ้มลอง  รอยยิ้มเหมือนน้ าผึ้งหยดท าให้ผมไวพจน์ต้องจอดรถลงมามองแตง  เล็กแตงใหญ่ก็
                  วางขายเป็นตับเจ้าของต้อนรับด้วยรอยยิ้มย่อง  ชาติเจ้าชู้ประตูดิน  ผมไม่ได้ซื้อแตงกินแต่อยากจะจีบ

                  เจ้าของ  เลยแกล้งถามเนื้อความนัยๆ ว่า “แตงน้องสองใบน่ะน้องจะขายไหมน้อง” เพลินคุยอยู่กับแม่ค้า
                  นั่นเจ้าของแตงมาตั้งท่าคอยจ้อง  ไม่พูดจาไว้ท่าอมภูมิในมือพ่อหนุ่มนั้นกุมไม้พลองแม่ค้าแถวนี้นะคงจะมี

                  เจ้าของ  ลาก่อนนะน้องโอ้แม่แตงเถาตายตั้งแต่วันนั้น ผมผ่านไปมาไม่เคยมองหน้าแม่ค้าคนไหนเพราะเบื่อ
                  รอยยิ้มมองไม่อิ่มในหัวใจล้วนแต่แตงเถาตายเจ้าของเธอมี”  (เพลงแตงเถาตาย : ค าร้อง ท านอง  ไวพจน์

                  เพชรสุพรรณ)
                                เมื่อจบเพลงแล้วครูวารีจึงเล่าว่า  “ปีพุทธศักราช 2515  ครูเข้ามาเรียนที่วิทยาลัย
                  ครูพระนคร  ครูไม่รู้จักเมืองรังสิต  รู้แต่เพียงว่าถ้านั่งรถโดยสารจากปราจีนบุรีบ้านเกิดมาถึงสถานที่ที่หนึ่ง

                  มองออกไปที่สองข้างทางจะมีเต็นท์ขายพวงมาลัยดอกไม้สด และแผงขายแตงโมติดต่อกันเป็นระยะๆ
                  เป็นทางยาวนั่นย่อมหมายถึงใกล้กรุงเทพฯ เข้ามาทุกขณะ  หรือเมื่อกลับต่างจังหวัดผ่านแผงขายแตงโม

                  เมื่อใดนั่นย่อมหมายถึงสุดเขตแดนออกจากกรุงเทพฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง มารู้อีกทีเมื่อโตขึ้น
                  ภาพต่างๆ หายไปหมดเหลือไว้แต่ความทรงจ ากับเพลงที่เมื่อสักครู่ที่พวกเราร้องกัน”   “มาวันนี้นอกจากจะ

                  ไม่มีร้านขายแตงโมริมทางแล้ว ครูชอบถามนักเรียนทุกครั้งที่สอนวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นถึงอาชีพดั้งเดิมของ
                  คนรังสิตแทบจะไม่มีใครตอบปลูกแตงโมขายกันเลย  ครูเองก็มาทราบหลังจากที่ได้คุยเรื่องสวนส้มกับ

                  คุณสมเกียรติว่า ในช่วงแรกของการปลูกสวนส้มขณะที่ต้นส้มยังเล็กๆ นั้น ชาวสวนส้มจะใช้ระยะห่างของ
                  การปลูกส้มมาปลูกแตงโมขาย รอการเก็บผลส้มกันแทบทุกสวน แตงโมรังสิตมีชื่อเสียงมากในเรื่องของ
                  ความแดง หวานกรอบ ปัจจุบันยังพอหาทานได้บริเวณริมคลองแถบอ าเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

                  ต่อมาต้นส้มโตขึ้นประจวบกับได้ราคาดีผู้คนจึงหันไปสนใจปลูกส้มเขียวหวานแทนแตงโมรังสิต อาชีพ
                  ปลูกแตงโมจึงเหลือเพียงแต่ชื่อและมีอยู่แต่ในเพลงของไวพจน์เท่านั้น ที่น ามาเล่าให้พวกเราฟังก็เพื่อจะให้

                  ทราบว่า ครั้งหนึ่งผลไม้ที่มีชื่อเสียงของเมืองรังสิต คือ  “แตงโม” และนักเรียนจะได้เล่าให้ลูกหลานฟังได้ว่า
                  แตงโมหายไปไหน”  ถึงตอนนี้ครูวารีรีบลุกขึ้นแล้วบอกว่า  “พอๆๆ เดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นมาหน้าไม่สวยหรือ

                  ตื่นสายจะมาโทษครู  ไปแล้วๆ”  พี่ปรางรีบบอกนักเรียนเคารพ เสียงตะโกน “ขอบคุณค่ะ” คงดังลั่นไป
                  ทั่วตึกก็ว่าได้ พวกเราก็แยกย้ายกันไปนอนรีบลุกไปจัดเตรียมที่หลับนอนทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วไม่รู้สึกง่วงเลยเป็น

                  เพราะตื่นเต้นกับงานวันพรุ่งนี้และได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของเราที่ไม่เคยรู้มาก่อน ครูวารีเล่าสลับกับ
                  ให้พวกเราร้องเพลแตงเถาตาย ของไวพจน์  เพชรสุพรรณ ประกอบการเล่าอย่างสนุกสนานไม่น่าเบื่อ
                  ได้ความรู้มากมายในคืนวันนี้ เช้าแล้วพวกเราตื่นกันตั้งแต่ตี 4 เสียงคุยกันลั่น  ชั้นล่างเป็นห้องน้อง

                  วงโยธวาทิตกับวงกลองยาวรวมกว่า 60 ชีวิตเป่าและทดลองเครื่องเสียงฟังไม่ได้ศัพท์ว่าเป็นเพลงอะไร พวก
                  เราสาวๆ  ก็แต่งหน้าทาปาก แต่งตัวช่วยกันใครถนัดอะไรก็ช่วยๆ กันเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะเรา

                  เหมือนครอบครัวเดียวกัน มีความสุขกับการท ากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเสียงครูเอื้องตะโกนบอกย้ าว่า
                  “อย่าลืมทานข้าวกล่องหรือหาอะไรรองท้องก่อนนะคะสาวๆ”  “ใครไม่ทานถ้าเป็นลมจะท าให้โรงเรียนเสีย
                  ชื่อนะจ๊ะ ครูโกรธด้วย”  พวกพี่จึงต้องท าหน้าที่แจกข้าว น้ าและขนมให้น้องๆ ได้อิ่มท้องก่อนออกเดินทาง

                  ริ้วขบวน เริ่มตั้งแถวทางทิศตะวันออกของสะพานแดงไปจรดตลาดน้ านครรังสิต เริ่มต้นด้วย พี่ปรางและ
                  พี่ใหม่ถือป้ายงานแข่งขันเรือพายประเพณี  และตามด้วยวงโยธวาทิต รถอัญเชิญถ้วยพระราชทานสมเด็จ

                  พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่ประดับด้วยดอกไม้สดสวยงามขาวสลับม่วง  ตามด้วยขบวน






                                                             40
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45