Page 48 - วรรณกรรมมัธยม
P. 48

ส ำนึกรักบ้ำนเกิด


                                  ทุ่งหลวงรังสิต เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง ปีพุทธศักราช 2500
                  เป็นต้นมา จากการเป็นแหล่งผลิตข้าวสู่เมืองหลวงไปเป็นชานเมืองที่รองรับโรงงานอุตสาหกรรม

                  และบ้านจัดสรร  ด้วยบริเวณนี้สะดวกกับการเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครมากกว่าตัวจังหวัดปทุมธานี
                  ราชการส่วนกลางจึงแยกตั้งหน่วยที่นี่อาทิ พิพิธภัณฑ์ สถานสงเคราะห์ หรือมหาวิทยาลัยของภาครัฐ
                  และเอกชนมากมาย การเปลี่ยนแปลงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  1 โดยเฉพาะ
                  ด้านการคมนาคมจากทางน้ าเป็นทางบก การเกิดขึ้นของถนนพหลโยธินในสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม

                  เกิดตลาดรังสิต ในปีพุทธศักราช 2510  ตลาดสุชาติ ในราวปีพุทธศักราช 2520  และเมื่อกรุงเทพมหานคร
                  มีอายุครบ 200 ปี  ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์กันยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ  จึงเกิดตลาด
                  และหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ในโอกาสนี้และเกิดตลาดสี่มุมเมือง โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สนามมวยรังสิต
                  ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ครบวงจรและสถานที่ส าคัญอื่นๆ อีกทั้งสองข้างทางพหลโยธินตั้งแต่

                  ดอนเมืองไปถึงรังสิต ไปติดพระอินทร์ราชา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เต็มไปด้วยโรงงาน ร้านค้า และตั้งแต่
                  รังสิตไปถึงอ าเภอธัญบุรี ตลอดสองข้างทางเต็มไปด้วยมหาวิทยาลัย หมู่บ้านจัดสรรและสถานที่ราชการ
                  รังสิตในปัจจุบันนับว่าเจริญรุ่งเรืองอย่างมากมาย  การเจริญรุ่งเรืองของสถานที่ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นการ

                  เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ตามธรรมชาติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของแต่ละท้องถิ่นนั้น
                  ย่อมต้องอาศัยประชาชนและกลุ่มคนที่อยู่อาศัยในสังคมนั้นๆ เช่นกันโดยมีผู้น าที่ผ่านการคัดเลือกคัดสรร
                  จากประชาชนในท้องถิ่นที่ให้เข้ามาบริหารบ้านเมืองและท้องถิ่นนั้นๆ เทศบาลนครรังสิตก็เช่นกัน กว่าจะ
                  ยกระดับจากชุมชน จากสุขาภิบาลต าบลประชาธิปัตย์ เป็นเทศบาลต าบลประชาธิปัตย์ จนปัจจุบันเป็น
                  เทศบาลนครรังสิตนั้น  การพัฒนายกระดับเมืองขึ้นมาจนปัจจุบันมีค ากล่าวว่า  สถานการณ์สร้างวีระบุรุษ

                  ฉันใด เทศบาลนครรังสิตของเราก็ไม่ควรจะลืมผู้น าท้องถิ่นที่น าพาชื่อเสียงและความเจริญรุ่งเรืองรวม
                  ตลอดถึงการดูแลด้านการรักษาพยาบาล การให้การศึกษา การสร้างงานสร้างอาชีพพัฒนาท้องถิ่นรวมถึง
                  การอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามไว้ให้เราชาวรังสิตได้เกิดความรักความภาคภูมิใจตัวท่าน ชาว

                  รังสิตคงจะไม่ปฏิเสธหรือว่าไม่มีใครไม่รู้จัก  “ครอบครัวกลิ่นกุสุม” ที่ทุกท่านให้ความไว้วางใจในการเข้ามา
                  เป็นตัวแทนในการเข้ามาบริหารนครรังสิตของเรา จากรุ่นสู่รุ่น
                                ดร.เดชา กลิ่นกุสุม เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2493 เป็นบุตรของนายเสรี กับ นางทองสุข
                  กลิ่นกุสุม  เป็นชาวปทุมธานีโดยก าเนิด มีบ้านพักอาศัยอยู่ตลาดคลองหนึ่งเดิมประกอบอาชีพค้าขายสมรส

                  กับนางสมพิศ กลิ่นกุสุม (นามสกุลเดิม  แจ้งใจ)  มีบุตรชาย 2 คน  ด้านการศึกษาจบระดับชั้นมัธยมศึกษา
                  ตอนต้นและปลายจากโรงเรียนธัญบุรี ปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม
                  ราชูปถัมภ์ ปริญญาโทมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต นับว่า
                  ท่านเป็นต้นแบบของบุคคลที่ขยันรักความก้าวหน้าและให้ความส าคัญในด้านการศึกษาแก่คนรุ่นหลังได้เป็น

                  อย่างดี  ด้วยชีวิตในวัยเยาว์ที่ต้องช่วยบิดามารดาที่มีอาชีพค้าขาย ที่พวกเราจะเรียกติดปากว่าร้านโชห่วย
                  คือขายของสารพัดชนิด ทั้งของกินของใช้ ทั้งสด แห้งเท่าที่จะขายได้ หลังจากที่วิถีชาวบ้านเปลี่ยนแปลงจาก
                  ชาวนาชาวสวนเป็นบ้านจัดสรร ท่านก็เป็นนักจัดสรรที่ดินขายบ้าง  ท าสวนส้มบ้างเปลี่ยนไปหลากหลาย
                  อาชีพ   การที่ได้เติบโตและประกอบอาชีพที่หลากหลายจากท้องถิ่นนครรังสิตจึงท าให้ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับ

                  ประชาชนเห็นความเจริญรุ่งเรืองการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ในขณะเดียวกันก็เห็นถึงปัญหาของ
                  นครรังสิตที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  เห็นการเพิ่มขึ้นของจ านวนประชากรที่อพยพมาท ามาหากินมากมาย
                  หลากหลายอาชีพและหลากหลายเชื้อชาติ ปัญหาชุมชนแออัด ขยะมูลฝอย ถนนสุขาภิบาล การจราจรและ





                                                             48
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53