Page 50 - วรรณกรรมมัธยม
P. 50

วันหยุดท าการในบางงาน  การบริการด้านการศึกษา จัดท าโรงเรียนในชุมชน ยึดหลัก “เท่าทัน เท่าเทียม
                  ทั่วถึง” โดยคิดแบบนครรังสิต คือ คุณภาพที่ดีที่สุดส าคัญน้อยกว่าทั่วถึงที่สุดเป็นหลักของการ  จัด
                  การศึกษาสนองตอบการขาดแคลนสถานศึกษาผลที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและสิ่งที่ตามมาและ

                  เป็นหัวใจของการให้บริการคืองานด้านสาธารณสุขที่ต้องด าเนินการควบคู่ไปกับด้านอื่นๆ ที่ผู้น าต้องมี
                  ความรู้ความเข้าใจน าหลักการบริหารงานมาใช้ที่เรียกว่าสาธารณะสุขแบบรังสิต  คือ สะท้อนความเข้าใจ
                  ชีวิตความเป็นอยู่ที่หลากหลายในความหมายของคนเมือง จัดตั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพกับศูนย์บริการ
                  สาธารณสุข ชมรมผู้สูงอายุและการให้บริการสวัสดิการสวัสดิภาพ สาธารณภัยโดยเฉพาะปัญหาอุทกภัย

                  ครั้งใหญ่ในปีพุทธศักราช  2554 เป็นงานที่เทศบาลนครรังสิตต้องร่วมกันช่วยแก้ปัญหาและจัดหาอาหาร
                  แจกจ่ายสิ่งของที่จ าเป็นต่อการด ารงชีพของประชาชนในพื้นที่อย่างเต็มความสามารถ แนวคิด-ปรัชญา
                  ในการด าเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม คือ ผมมีแนวคิดในการท างานด้วยหัวใจที่จะ

                  พัฒนาเทศบาลนครรังสิตที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีประชากรอยู่เป็นจ านวนมากและเป็นเมืองที่เจริญเติบโต
                  เร็วซึ่งมีบุคลากรในการปฏิบัติงานจ านวนมาก ดังนั้น การที่มีองค์กรขนาดใหญ่มาก ผมเริ่มต้นจากการ
                  ปรับวิธีการบริหารงาน ปรับวิธีเรื่องการจัดการเรื่องการบริการโดยน าเครื่องมือและเทคโนโลยีมาช่วยในการ
                  บริหารจัดการทั้งด้านสาธารณูปโภค และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและทรัพย์สินซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่
                  ประชาชนต้องการให้มีการติดกล้อง cctv ได้มีการติดไว้แล้วบางส่วนและยังอยู่ในระหว่างการด าเนินการ

                  ติดตั้งกล้องเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เทศบาลนครรังสิต  มีการตั้ง “ศูนย์ควบคุมและสั่งการนครรังสิต”
                  (RANGSIT CITY CONTROL AND COMMAND CENTER: RCC)  เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ในการพัฒนาให้
                  เทศบาลนครรังสิตเป็น “นครแห่งการไม่หลับใหล” โดยเฉพาะในส่วนการให้บริการสาธารณะโดยใน

                  ระยะแรกได้น าศูนย์สั่งการและศูนย์วิทยุสื่อสารมาไว้ในศูนย์ควบคุมและสั่งการนครรังสิต มีระบบ Call
                  Center  24 ชั่วโมงเพื่อรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ ทางโทรศัพท์โดยการสร้างงานให้กับกลุ่มคนพิการมาดูแล
                  และรับเรื่องในส่วนนี้ และการวางเครื่องสูบน้ าแบบถาวร วางแผนขออนุญาตเริ่มก่อสร้างโรงสูบน้ า การสร้าง
                  และขยายถนนเพิ่มเติม การสร้างสหกรณ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโครงการที่จะส่งเสริม

                  พัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวรังสิตในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและรักษาไว้ซึ่งประเพณี
                  อันดีงามของชาวปทุมธานีทุกเชื้อชาติศาสนา  ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขโดยทั่วหน้ากัน  และนี่คือ
                  “ครอบครัวกลิ่นกุสุม” กับการพัฒนาเมืองรังสิต  ให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งนี้ยังหมายรวมถึงทีมงานทุกคนที่มีส่วน
                  ในการสร้างความเจริญให้กับเมืองรังสิตแบบยั่งยืนและเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าทุกคนร่วมใจรักและ

                  สามัคคีร่วมท าความดีเพื่อท้องถิ่นของเรา นี่คือ อีกหนึ่งความหมายของค าว่า  “ทดแทนคุณแผ่นดิน” เมื่อ
                  ทุกท่านที่ได้มีโอกาสเข้ามาอ่านหนังสือเล่มนี้จบลง คงได้องค์ความรู้ที่หลากหลายที่เราในฐานะของชาว
                  จังหวัดปทุมธานีและคนท้องที่เมืองรังสิต คงได้รับรู้ถึงที่มาของเมืองรังสิตวิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงและ
                  พัฒนา วัฒนธรรมและประเพณีที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในอดีตจนมาถึงการด าเนินชีวิตในปัจจุบัน

                  ความสัมพันธ์ของท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด โรงเรียนและคนในท้องถิ่นล้วนแล้วแต่มีความส าคัญและมี
                  ส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ควบคู่กันไป  ไม่ใช่หน้าที่ของใคร  คนใดคนหนึ่งเท่านั้น  สังคม
                  จะพัฒนาไปได้ด้วยดี ย่อมหมายถึงคนในสังคมนั้นต้องรู้จักหน้าที่ รักษาวินัยเคารพกฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน

                  มีความเสียสละให้กับส่วนรวมร่วมคิด ร่วมสร้างร่วมอนุรักษ์สิ่งดีงามไว้ให้กับคนรุ่นหลัง สังคมนั้นย่อมน่าอยู่
                  เจริญรุ่งเรืองพัฒนาก้าวไกลได้อย่างมั่นคงและถาวร เราก็คือส่วนหนึ่งที่ต้องเข้ามีส่วนร่วมเพื่อบ้านเมือง“
                  นครรังสิตของเรา”








                                                             50
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55