Page 11 - ความขัดแย้ง การเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ
P. 11
บทที่ 1 โครงสร้างระหว่างประเทศ ตัวแสดง และความขัดแย้ง
ความสําาคัญของปัญหา
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาทางการ เมอื งทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั หลากหลายมติ 1ิ และสง่ ผลกระทบนานปั การตอ่ ความมนั่ คงในหลาย ระดบั อาทิความมนั่ คงของมนษุ ย์(HumanSecurity)และความมนั่ คงของรฐั (State Security) จากการเกบ็ สถติ ขิ องเหตกุ ารณค์ วามรนุ แรงทเี่ กดิ ขนึ้ นบั ตงั้ แตส่ ถานการณ์ ความไม่สงบได้ปะทุขึ้นมาในเดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนมีนาคม 2564 พบว่ามี เหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นรวมท้ังส้ิน 20,971 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตกว่า 7,233 ราย และบาดเจ็บ กว่า 13,441 ราย2 นอกจากนี้ จากสถิติพบว่าสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใตม้ พี ลวตั สงู และกอ่ ใหเ้ กดิ การสญู เสยี แตกตา่ งกนั ไปในชว่ งเวลาทต่ี า่ งกนั โดยพบว่า ในช่วงปี 2548-2550 และปี 2552 จําานวนเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น สูงกว่า 1,000 ครั้งต่อปี และมีผู้เสียชีวิตสูงกว่า 500 คน3 อย่างไรก็ดี ภายหลังจาก ปี 2556 จําานวนเหตุการณ์ความไม่สงบมีแนวโน้มลดลงจนถึงปัจจุบัน4
แม้ว่าจะมีความเข้าใจอย่างกว้างขวางว่า ปัญหาความขัดแย้งทางอัตลักษณ์ และชาติพันธุ์เป็นปัญหาภายในประเทศ แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งเหล่านี้มี โอกาสก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างจนอาจกลายเป็นปัญหาข้ามชาติได้ ด้วยเหตุนี้
1 Till Maximilian Möller. “Insurgency in Southern Thailand: A Quest for Identity.” Sicherheit Und Frieden (S F) / Security and Peace 29, no. 1 (2011): 7-13.
2 ศูนย์เฝ้าระวังชายแดนภาคใต้. สถิติสะสมเหตุการณ์ชายแดนใต้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 - มีนาคม 2564. https://deepsouthwatch.org/en/node/11961.
3 ไกรยส ภัทราวาท, การย้ายถิ่นประชากรอันเนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 4 จังหวัด ชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อาเภอในจังหวัดสงขลา) (กรุงเทพฯ: สําานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2558)
4 Deep South Watch, “Summary of Incidents in Southern Thailand, September 2021,” 26 October 2021, https://deepsouthwatch.org/en/node/12813