Page 20 - หนังสือ พุทธศิลป์วัดเกษตราราม
P. 20
ิ
พุทธศลป์ วัดเกษตราราม
ั
ประเพณีที่สาคญ ของวัดเกษตราราม
ประเพณีท าบุญขึ้นปีใหม่
แต่เดิมนั้น เราถือเอาวันแรม ๑ ค่ า เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติ
แห่งพุทธศาสนาซึ่งถือช่วงเหมันต์ หรือ หน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตาม
คติพราหมณ์ คือ ถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ า เดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่
ครั้งภายหลัง เมื่อทางราชการนิยมใช้วันทางสุริยคติ จึงได้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันปี
ใหม่ มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๒ และเมื่อถือปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ทางราชการก็ได้มีการประกาศ
เปลี่ยนแปลง ให้เอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดาอารยะประเทศ
บางที่อาจะเคยได้ยินค ากล่าวที่ว่า แต่ก่อนเราถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วยที่
เป็นเช่นนี้ก็เพราะ วันสงกรานต์นั้นจะตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ า เดือน ๕ ของทุกปี จนในปี พ.ศ.
๒๔๓๒ วันสงกรานต์นี้ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕ จึงประกาศให้ใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ และ ได้ใช้เรื่อยมา สาเหตุก็เพราะสอดคล้อง
กับธรรมเนียมโบราณ คือ ในปีนั้นตรงกันทั้งวันสงกรานต์ และ วันขึ้น ๑ ค่ าเดือน ๕
ได้มีการใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่นั้นเรื่อยมา แม้ว่าในปีต่อไปจะไม่
ตรองกับวันสงกรานต์ ทั้งนี้เพื่อให้มีก าหนดวันทางสุริยคติที่แน่นอนตายตัวลงไป
จันทรคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระจันทร์เป็นเกณฑ์ คือ นับขึ้นแรม
นั้นคือเดือนอ้าย ยี่ สาม สี่ ฯลฯ นับปีชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ เรียกว่า การนับทางจันทรคต
ิ
สุริยคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ คือวิทีการนับ
อย่างในปัจจุบัน เช่น วันจันทร์ อังคาร พุทธ เดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม และ ปี พ.ศ.
ปี ค.ศ. ต่าง ๆ
ต่อมาในวันที่ ๒๔ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๘๓ คณะรัฐบาลของจอม
พล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้
ใช้วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้อง
กับประเทศอื่น ๆ เป็นสากลทั่วโลก
และ ใช้เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
หน้า ๑๖