Page 52 - รายงานประจำปี2564 ศวก.ที่8อุดรธานี
P. 52
รายงานประจ าปี 2564 | Annual Report 2021 51
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี | Regional Medical Sciences Center 8 Udonthani
การใช้ชุดทดสอบแอนติเจนส าหรับเชื้อโควิด-19 (Antigen test kit, ATK)
ชุลีพร จันทรเสนา
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อ SARS-CoV-2 ในทุกภูมิภาคของประเทศ ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น รัฐบาล
จึงมีนโยบายให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้ครอบคลุมที่สุด ด้วยการใช้ชุดตรวจหาเชื้อโควิด–19 แบบ Antigen Test Kit
(ATK) เป็นการตรวจคัดกรองเชิงรุก เพื่อหาผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว และเร่งลดการแพร่ระบาด โควิด–19 ในระลอกปัจจุบัน
โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ และไม่ได้รับการคัดแยกหรือกักตัว ท้าให้เกิดการแพร่เชื้อ
ภายในครอบครัวและในชุมชนที่พักอาศัยมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การเข้าถึงองค์ความรู้ที่จ้าเป็นส้าหรับการใช้ชุดทดสอบ
อย่างถูกวิธี เพื่อความถูกต้อง และปลอดภัยในการตรวจหาเชื้อโควิด–19 ด้วยตนเอง รวมทั้งมีการจัดการหลังการตรวจอย่างมี
ประสิทธิภาพ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี ส้านักงานสาธารณสุขจังหวัด และภาคีเครือข่ายสุขภาพในเขตสุขภาพ
ที่ 8 จึงรวมพลังหนุนเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพผ่านการขึ้นทะเบียนจาก
ส้านักงานคณะกรรมการอาหารและยา สามารถตรวจค้นหาเชื้อโควิด–19 ด้วยตนเองโดยการใช้ชุดทดสอบ ATK ซึ่งจะช่วยลด
ความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากการรอคอย รอนาน จากสถานพยาบาล อีกด้วย
กลไกการขับเคลื่อนเสริมพลัง ความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยประชาชน
1. สร้างชุมชนต้นแบบ โดยการประสานงานส้านักงานสาธารณสุขอ้าเภอ และส้านักงานสาธารณสุขจังหวัด ใน
การคัดเลือกชุมชนน้าร่อง จังหวัดละ 1 แห่ง
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน หมู่บ้านละ 2 คน เพื่อเป็นพี่เลี้ยง และที่
ปรึกษาให้แก่ประชาชนในชุมชนตนเอง
3. พัฒนาหลักสูตร โดยการบูรณาการเนื้อหา แนวคิดระหว่าง พิษณุโลกโมเดล และ สคร.8 ปรับใช้ให้
เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เนื้อหาบรรยายทฤษฎี ฝึกปฎิบัติการ ติดตามประเมินผลภาคสนาม ผู้ที่ผ่านหลักสูตรจะได้รับตรา
สัญลักษณ์ขณะปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม จ้าแนกพื้นที่ด้าเนินได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
3.1 พื้นที่ ขับเคลื่อนระดับต้าบลภายใต้การก้ากับดูแลของ ศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่อง
ร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และร้านขายยา เป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด คัดเลือกเป้าหมายอาสาสมัคร และปฏิบัติการ
ภาคสนาม โดยการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มที่มาจากพื้นที่เสี่ยง กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น
3.2 อ้าเภอจัดการสุขภาพ (DHS) ก้ากับดูแลโดยส้านักงานสาธารณสุขอ้าเภอ คัดเลือกอาสาสมัคร และ
ปฏิบัติการเชิงรุกในการ เฝ้าระวังสถานที่เสี่ยง เช่น ร้านค้า ตลาดนัดทั้งอ้าเภอ
3.3 จังหวัด ก้ากับดูแลโดยส้านักงานสาธารณสุขจังหวัด คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย อาสาสมัคร และ
ปฏิบัติการเชิงรุกภาคสนามในพื้นที่เสี่ยง ประชาชนเข้าถึงการตรวจเชื้อโควิด-19 ยาก
4. Kick off ปฏิบัติการภาคสนามเพื่อสะท้อนแนวคิดการด้าเนินงาน และความเข้มแข็งของภาคประชาชน
5. จัดประชุมสรุปบทเรียน เพื่อน้าไปปรับปรุง ต่อยอด ขยายผลสู่พื้นที่อื่นต่อไป
ผลลัพธ์ที่ได้เกินจากความคาดหวัง คือมีชุมชนต้นแบบสมัครใจเข้าร่วมหลักสูตร “พัฒนาครู ก.เรื่องการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย
ชุดทดสอบ ATK” จ้านวน 12 อ้าเภอ 7 จังหวัดรวมครู ก.ที่ผ่านหลักสูตรจ้านวน 421 คนประกอบด้วย อสม.วิทยาศาสตร์
การแพทย์ชุมชน อสม.หมอประจ้าบ้าน ประธานอสม.ฯลฯ สามารถตรวจตนเองและถ่ายทอดต่อผู้อื่นให้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
โดยมีเจ้าหน้าที่ SRRTของแต่ละต้าบลร่วมเรียนรู้ และน้าทีมในการปฏิบัติงาน โดยมีคณะผู้บริหารสาธารณสุข นายอ้าเภอ
ร่วมชื่นชม และให้ก้าลังใจแก่ อสม. สร้างความพึงพอใจต่อหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และน้าไปใช้ได้จริงถึงร้อยละ
92.77