Page 31 - รายงานประจำปี2564ศวก.ที่8อุดรธานีWeb
P. 31
รายงานประจ าปี 2564 | Annual Report 2021 30
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี | Regional Medical Sciences Center 8 Udonthani
การรายงานผลการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Report)
โดยระบบรับส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ (iLab Plus)
วราภรณ์ สารีบุตร
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี เปิดให้บริการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะตามพันธกิจด้านการพัฒนาและ
ก้าหนดมาตรการเพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยรายงานผลการทดสอบให้ผู้รับบริการทั้งการรับผลด้วย
ตนเองหรือส่งไปรษณีย์ ทั้งนี้การรับผลทางไปรษณีย์พบปัญหาในหลายด้าน เช่น ผลวิเคราะห์ส่งถึงผู้รับบริการล่าช้า มีผู้ลง
ลายมือชื่อรับเอกสารแต่ไม่พบเอกสาร เอกสารสูญหายท้าให้มีการขอคัดลอกส้าเนารายงานผลอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งขั้นตอนการส่ง
ไปรษณีย์ของเจ้าหน้าที่รับตัวอย่างมีหลายขั้นตอน เริ่มจากเจ้าหน้าที่รับตัวอย่าง Scan barcode เข้าสู่ระบบ iLab Plus ของ
ผลวิเคราะห์ที่ได้รับการอนุมัติจากผู้อ้านวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้ว เพื่อค้นหาหมายเลขทดสอบ ตรวจสอบความถูกต้อง
ของข้อมูลเพื่อพิมพ์ผลซึ่งประกอบด้วยใบปะหน้าและรายงานผล จัดชุดรายงานพร้อมประทับตรา “ลับ” ในส่วนหัวรายงาน
เตรียมซองจดหมาย ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของรายงาน ก่อนน้าเข้าซองจดหมายพร้อมติดสติกเกอร์ลงทะเบียน
จัดท้าแบบบันทึกหลักฐาน และรวบรวมจดหมายทั้งหมดส่งไปรษณีย์ตามล้าดับ รวมใช้เวลาทั้งสิ้น 3 นาทีต่อรายงาน 1 ฉบับ
เมื่อน้ามาค้านวณกับปริมาณตัวอย่างตั้งแต่เดือนเมษายน – สิงหาคม 2564 มีการออกรายงานผลการทดสอบประมาณ
8,000 ฉบับ คิดเฉลี่ยเป็น 80 ฉบับต่อวัน ใช้เวลาวันละ 4 ชั่วโมง สร้างภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่รับตัวอย่างเป็นอย่างมาก
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี จึงได้น้าปัญหาดังกล่าว มาปรับปรุงกระบวนงานการส่งรายงานผลการ
ทดสอบให้แก่ผู้รับบริการ วางแผนการด้าเนินงานในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยงานเทคโนโลยีสารสนเทศศึกษาการใช้งาน
ระบบรายงานผลการทดสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งตัวอย่าง (iLab Plus) เดือนสิงหาคมงานวัตถุเสพติดท้าหนังสือ
แจ้งให้ผู้รับบริการ ได้แก่ สถานีต้ารวจภูธรในเขตพื้นที่รับผิดชอบแจ้งความจ้านงรับรายงานผลการทดสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์
วันที่ 19 สิงหาคม 2564 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการรายงานผลการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน
ระบบ Zoom มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 125 คน จาก 53 หน่วยงาน สาธิตการเข้าใช้งานระบบ การลงทะเบียนผู้รับผิดชอบ
ของหน่วยงาน เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ และการปฏิบัติงานด้านระบบคุณภาพของศูนย์ฯ วันที่ 20 – 31 สิงหาคม 2564
งานเทคโนโลยีสารสนเทศเตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่รับตัวอย่างปรับเปลี่ยนช่องทางการรับรายงานผลโดยสร้างรายงาน
แบบ E-Report จัดท้าแบบฟอร์มลงทะเบียนให้ผู้รับผิดชอบ จัดท้าคู่มือ/ขั้นตอนการรับรายงานผลการทดสอบด้วยระบบ E-
์
Report ก้าหนดชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าระบบ ส่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านพร้อมคู่มือ/ขั้นตอนการรับรายงานผล และลิงคที่ใช้
ในการเข้าระบบให้แก่ผู้รับผิดชอบของหน่วยงานที่ลงทะเบียนเข้ามาในแบบฟอร์มที่จัดท้าขึ้นทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ตามล้าดับ เริ่มออกรายงานผลตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 ปัจจุบันมีสถานีต้ารวจภูธรรับผลการทดสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
ทั้งสิ้น 88 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70 จากผลการด้าเนินการดังกล่าวท้าให้เจ้าหน้าที่รับตัวอย่างใช้เวลาในการออกรายงานผล
30 วินาทีต่อฉบับ ผู้รับบริการสามารถรับรายงานผลได้อย่างรวดเร็ว ท้าให้ทั้งผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ พึงพอใจ
อย่างมาก และมีเวลาไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป