Page 2 - 242 ธันวาคม63
P. 2

“ การศึกษาพัฒนาคน ”



                            นายธีระวัฒน์ อัตตโยธิน

                            กศ.บ, ศษ.ม. (บริหาร), ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
                            อาจารย์พิเศษ/ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (ปราจีนบุรี)
                            นายคึกฤทธิ์ อัตตโยธิน ศศ.บ., ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)






                                     “เมตตา...กรุณา” ที่หายไป



                                                                                           ้
                                                                                           ำ
            บนโลกใบนี้ มีสิ่งมีชีวิต ที่เรียกว่าคน (มนุษย์) สัตว์เดรัจฉาน ต้นไม้ใบหญ้าและสิ่งไม่มีชีวิต ดิน นา อากาศ ซึ่งสัตว์โลกต่าง
       พึ่งพากัน “มนุษย์” สัตว์โลกที่มีอำานาจเหนือกว่า จึงควรจะให้ “ความเมตตากรุณา” แก่สัตว์เดรัจฉานที่อ่อนด้อยกว่าทุกประการ
            สังคมวันนี้ จากภาพและข่าวทางสื่อฯ จะเห็นการทารุณกรรมสัตว์ หรือฆ่าให้ตาย เพียงแค่อารมณ์โกรธ ไม่คิดเลยว่าสิ่งมี
       ชีวิตทุกชีวิตจะมีความรู้สึกเจ็บปวดและกลัวตายเหมือนกัน
            เมื่อครั้งพุทธกาล…

            “พระสิทธัตถะ”  (ก่อนตรัสรู้)  ได้เสด็จจากนครราชคฤห์ตรงไปยังชนบทอันเต็มไปด้วยทิวเขาเป็นที่อยู่แห่งฤษีและมุนี
       ทรงหวังที่จะศึกษาถึงความจริงเรื่องชีวิต เรื่องความตาย สิ่งชั่วร้าย ความทุกข์ทรมานอันเนื่องกันอยู่กับชีวิตนั้น
            ขณะที่พระองค์เสด็จไปตามหนทางเห็นฝุ่นฟุ้งตลบฟ้าลงมาจากภูเขา  พร้อมทั้งเสียงกีบสัตว์จำานวนมากกระทบพื้นดิน
       ครั้งใกล้เข้าไปก็ทอดพระเนตรเห็นแพะและแกะฝูงใหญ่ออกมาจากกลุ่มฝุ่นอันฟุ้งขึ้นดุจเมฆนั้น  ฝูงสัตว์ที่น่าสงสารนั้นกำาลังถูกขับ

       ต้อนไปทางในเมือง  ตอนท้ายๆปลายฝูงอันยาวยืดนั้น  “มีลูกแกะอ่อนตัวหนึ่งขาเจ็บเป็นแผล  มีเลือดไหลโซมต้องพยายามโขยก
       เขยกเดินไปตามฝูงด้วยความเจ็บปวดอันทรมาน”
            เมื่อพระสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นลูกแกะตัวนี้  และสังเกตเห็นแกะที่เป็นแม่ของมันกำาลังเดินวกวนพะวงหน้าพะวงหลัง
       เพราะมีลูกเล็กที่จะต้องห่วงหลายตัว  “พระหฤทัยของพระองค์ก็เต็มอัดด้วยด้วยความกรุณา”  พระองค์ทรงอุ้มลูกแกะแล้วเดิน

       ตามฝูงแกะไปข้างหลังพลางตรัสว่า “สัตว์ที่น่าสงสารเอ๋ย ฉันกำาลังจะไปหาพวกฤษีบนภูเขา แต่มันก็เป็นความดีเท่ากับที่ฉันจะช่วย
       บรรเทาความทุกข์ของเจ้า...”
            สัตว์ทุกตัวนั้นจะถูกนำาเข้าประกอบพิธีบูชายัญ  แต่พระสิทธัตถะก็ทรงได้ช่วยชีวิตพวกมันได้  โดยตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร
       ว่า  “อย่าเลยมหาราช  อย่าให้การบูชายัญเหล่านี้พร่าชีวิตสัตว์ที่น่าสงสารเหล่านั้นเลย”  แต่นั้นมาพระเจ้าพิมพิสารก็ห้ามมิให้ผู้ใด

       ประกอบการบูชายัญด้วยสัตว์มีชีวิตอีกต่อไป ให้ใช้ดอกไม้ ผลไม้ ขนมหวาน และสิ่งอื่นๆ
            พระองค์ทรงตรัสว่า “สัตว์ทุกตัวซึ่งมีชีวิต ย่อมรักชีวิต ย่อมกลัวต่อความตายเช่นเดียวกับมนุษย์ แล้วทำาไมมนุษย์จะมาใช้
       กำาลังที่ตนมีเหนือสัตว์ผู้เป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งนั้น ให้เป็นไปในทางปล้นเอาชีวิตซึ่งเป็นที่รักของมัน ถ้าคนเรา
                                                                                          ่
                                                                                          ำ
       ปรารถนาจะได้รับความสุขด้วยตนเองในอนาคตแล้ว ก็ต้องไม่ทำาความทุกข์ให้เกิดแก่สัตว์อื่นแม้ที่ต้อยตาเพียงไร”
            พระสิทธัตถะ  หลังจากทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ก็ทรงเผยแพร่ธรรมะจนล่วงสู่ปรินิพพาน  พระองค์ทรงมี
                                                    ้
       “พระเมตตา กรุณา” ประทานให้เผ่าพันธุ์มนุษย์อย่างลาเลิศ จากเวลาล่วงเลยผ่านถึงพุทธศักราช ๒๕๖๓ ปัจจุบัน “พระเมตตา
                                                    ำ
       กรุณา” อันเปี่ยมล้นก็คงอยู่ในบวรพุทธศาสนา ซึ่งมี “พระธรรม คำาสอน เป็นสรณะ”
            ความเจริญของโลกก้าวหน้าไปมาก  “สัตว์โลกที่ต่างต้องพึ่งพากัน”  ก็นับเวลาลดความสำาคัญลงพร้อมกับด้านศีลธรรมก็

       เสื่อมทรามถอยหลัง “วัฏจักรแห่งพุทธ” บ้าน สถานศึกษา วัด ชุมชนท้องถิ่น จะตอบคำาถาม “เมตตา กรุณา” ที่หายไปให้หวนคืน
       กลับมาอยู่กับสังคมไทยได้อย่างไร
            ทุก  ๆ  ท่านครับ  อีกไม่กี่วันก็จะเปลี่ยนผ่านพุทธศักราชใหม่แล้ว  คณะผู้จัดทำาวารสารฯ  และผู้เขียนบทความทุกคอลัมภ์
                                                                  ่
       ขออำานวยพรให้ผู้อ่านทุกท่าน จงประสบแต่ความโชคดี มีสุขภาพแข็งแรง รารวยเงินทอง ตลอดปี ๒๕๖๔ “สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๔ ครับ”
                                                                  ำ




      4   วารสารองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
   1   2   3   4   5   6   7