Page 163 - Advande_Management_Ebook
P. 163
พลต�ารวจตรี ดร.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ 161
ค�านึงถึงเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมและสังคมจะเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักของ
องค์กรเสมอมา หากมีการกระท�าลงในเขตพื้นที่ของสังคมใด ๆ และสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ
เกิดมีผลกระทบกระเทือนจนเกิดความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว องค์กรที่ได้มีการประกอบ
ธุรกิจหรือกิจการดังกล่าย่อมมีเหตุส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างแน่นอน หากไม่ค�านึง
ถึงเรื่องดังกล่าวเป็นหลักในยุคปัจจุบันนี้ มีการจัดการตามกระแสของสิ่งแวดล้อม
สังคม การก�ากับการที่ดี อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเป็นหลักและยังมีอยู่ในสถาบัน
อื่น ๆ อีกหลายแห่ง ประเทศไทยเองก็น�าหลักการดังกล่าวนี้มาใช้ในการก�ากับดูแล
ภาคธุรกิจที่ส�าคัญๆ
หลักกำรก�ำกับกำรที่ดี (Good Governance)
“หลักธรรมาภิบาล” หรืออาจเรียกว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”
ซึ่งรู้จักกันในนาม “Good Governance” นั้น เป็นหลักการเพื่อการอยู่ร่วมกันในบ้าน
เมืองและสังคมอย่างมีความสงบสุข สามารถประสานประโยชน์และคลี่คลายปัญหา
ข้อขัดแย้งโดยสันติวิธีและพัฒนาสังคม ให้มีความยั่งยืน แต่หากพิจารณาตามความ
หมายที่ทางสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ TDRI ได้ให้ความหมายไว้พบว่า
“ธรรมาภิบาล” มาจากค�าว่า “ธรรม” (แปลว่า คุณความดี) รวมกับค�าว่า “อภิ” (แปล
ว่า ยิ่ง) และค�าว่า “บาล” (แปลว่า ปกครองหรือเลี้ยงดู) ดังนั้น ค�าว่า “ธรรมาภิบาล”
จึงหมายถึง การบริหารหรือการปกครองที่มีความถูกต้อง มีความยุติธรรม และมีคุณ
ความดีอย่างยิ่ง ซึ่งตรงกับค�าภาษาอังกฤษว่า “Good governance” และโดย “หลัก
ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” นั้น ประกอบด้วย 10 หลัก ได้แก่
1) หลักการตอบสนอง (Responsiveness) 2) หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
3) หลักประสิทธิภาพ/คุ้มค่า (Efficiency2Value for money) 4) หลักความเสมอ
ภาค (Equity) 5) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) 6) หลักการตรวจ
สอบได้/มีภาระรับผิดชอบ (Accountability) 7) หลักเปิดเผย/โปร่งใส (Transpar-
ency) 8) หลักการกระจายอ�านาจ (Decentralization) 9) หลักการมีส่วนร่วม
(Participation) และ 10) หลักนิติธรรม (Rule of Law) (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2557: ออนไลน์)