Page 138 - แผนการสอน 63-2
P. 138
3
10. เมื่อของแข็งได้รับความร้อน อนุภาคของของแข็งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. พลังงานลดลง สั่นน้อยลง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคลดลง
ข. พลังงานลดลง สั่นน้อยลง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากขึ้น
ค. พลังงานเพิ่มขึ้น สั่นมากขึ้น และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคลดลง
ง. พลังงานเพิ่มขึ้น สั่นมากขึ้น และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคเพิ่มขึ้น
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5.3 ความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร
สถานะของสสาร
ของแข็ง (Solid)
คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ชิดกัน มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย อนุภาคของสสารจึง
เคลื่อนไหวได้ยาก ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างคงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก สสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น
หิน น้ าแข็ง เหล็ก โต๊ะ เป็นต้น
ของเหลว (Liquid)
คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง จึงอยู่กันอย่างหลวมๆ อนุภาคของ
สสารจึงเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ สสารที่มี
สถานะเป็นของเหลว เช่น น้ า ฝน น้ ามัน เป็นต้น
ก๊าซ (Gas)
คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยมาก ท าให้อนุภาค
เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อสสารอยู่ในภาชนะใดอนุภาคของสสารจะฟุ้ง
กระจายเต็มภาชนะสสารที่มีสถานะเป็นก๊าซ เช่น อากาศ ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
พลาสมา (Plasma)
คือ สถานะของสารที่มีอนุภาคแตกกระจาย จึงเกิดการกระจายไปมาของอนุภาค ท าให้อนุภาค
เคลื่อนไหวแบบรวดเร็ว ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน สสารนี้จะสลายไปอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น
เราสามารถพบพลาสมาได้ในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ในขณะเกิดฟ้าผ่า และในอวกาศ
การเปลี่ยนแปลงสถานะ
การเปลี่ยนแปลงของสารจากสถานะของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว อุณหภูมิขณะนั้น
จะคงที่เรียนกว่า จุดหลอมเหลว
การเปลี่ยนสถานนะของสารจากของเหลวกลายเป็นไอ เรียกว่า การเดือด อุณหภูมิขณะนั้นจะคงที่
เรียกว่า จุดเดือด
การเปลี่ยนแปลงสถานะในแต่ละรูปแบบ มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
การระเหย
คือ กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นก๊าซ โดยมักเกิดเมื่อ
ของเหลวนั้น ๆ ได้รับพลังงานหรือความร้อน ได้แก่ น้ า เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ า