Page 5 - 2. รายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำผิวดิน สคพ.4 _2565
P. 5
1
1
ที่มาและความสำคัญ
ื้
น้ำ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพนฐาน
สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจทั้งการอุปโภคและบริโภค เกษตรกรรม
อุตสาหกรรม การรักษาระบบนิเวศ การท่องเที่ยว และ
การคมนาคม เป็นต้น
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 พระราชกฤษฎีกา
กำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำของประเทศไทยใหม่ให้มีความเหมาะสมกับ
การบริการจัดการน้ำและวิถีชีวิตของประชาชน กำหนดให้
ประเทศไทยมี 22 ลุ่มน้ำหลัก 353 ลุ่มน้ำสาขา และมี
หมู่เกาะต่างของและลุ่มน้ำหลักอีกจำนวน 6 หมู่เกาะ
ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการแบ่งกลุ่มพื้นที่ “ลุ่มน้ำ”(river
basins) ของประเทศไทยครั้งสำคัญหลังจากที่กำหนดให้
พื้นที่ทั่วประเทศไทยประมาณ 500,000 ตารางกิโลเมตร
ถูกแบ่งออกเป็น 25 ลุ่มน้ำหลัก 254 ลุ่มน้ำสาขามายาวนาน
ร่วมสามทศวรรษ
การแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำใหม่ดำเนินการตามมาตรา 25
ของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ซึ่งหลักเกณฑ ์
ที่ใช้แบ่งกลุ่มพื้นที่ลุ่มน้ำเบื้องต้น คือ พื้นที่ลุ่มน้ำไม่ควรอยู่
ต่างพื้นที่กัน หรืออยู่ต่างภูมิภาค ถ้าพื้นที่ลุ่มน้ำแยกกัน
อย่างชัดเจนควรรวมกับพื้นที่ลุ่มน้ำข้างเคียงหรือแยก
ออกเป็นเอกเทศ ขณะเดียวกันหากพบว่ามีการใช้น้ำหรือ
บริหารจัดการน้ำร่วมกันและมีพื้นที่ลุ่มน้ำไม่ใหญ่นัก แหล่งข้อมูลภาพ: www.mitrearth.org
ควรรวมกลุ่มลุ่มน้ำเข้าด้วยกันเพอให้สามารถบริหารจัดการ
ื่
น้ำแบบองค์รวมเป็นเนื้อเดียว ภาพที่ 1.1 แผนที่ 22 ลุ่มน้ำหลัก
ี
รายงานสถานการณ์คุณภาพน ้าแหล่งน ้าผิวดิน ประจ าปงบประมาณ พ.ศ. 2565
ส ำนักงำนสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์)