Page 10 - บทที่ 10 เสียง
P. 10

10


               ของแหล่งกำเนิดเสียง ปรากฏการณ์ที่ผู้ฟังได้ยินเสียงมีความถี่เปลี่ยนไปจากความถี่จริงของแหล่งกำเนิดเสียง

               เพราะแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler effect) ของเสียง








                                           รูปที่ 24 การเกิดปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

                       ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงอยู่นิ่ง แต่ผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง ผู้ฟังจะได้ยิน

               เสียงที่มีความถี่แตกต่างจากความถี่ของแหล่งกำเนิดเสียงเช่นกัน โดยผู้ฟังจะได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงขึ้นเมื่อ
               ผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง และผู้ฟังจะได้ยินเสียงความถี่ต่ำลง เมื่อผู้ฟังเคลื่อนที่ออกจาก

               แหล่งกำเนิดเสียง นั่นคือ ถึงแม้แหล่งกำเนิดเสียงจะอยู่นิ่ง แต่ผู้ฟังมีการเคลื่อนที่ ก็จะเกิดปรากฏการณ์ดอป
               เพลอร์เช่นกัน















                   รูปที่ 25 ลักษณะหน้าคลื่นน้ำเมื่อปลายดินสอซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่ด้วยอตราเร็วต่าง ๆ
                                                                                          ั
                       เมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่ในตัวกลาง ถ้าอัตราเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่นเพิ่มขึ้น หน้าคลื่นที่อยู่

                                              ั
                                                                                  ั
               ทางด้านหน้าแหล่งกำเนิดคลื่นจะถูกอดกันและอยู่ใกล้กันมากขึ้น จนกระทั่งเมื่ออตราเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่น
               เท่ากับอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง หน้าคลื่นทุก ๆ หน้าคลื่นที่ออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นจะเคลื่อนที่ไปพร้อม
               ๆ กันกับแหล่งกำเนิดคลื่นดังรูป 25 ข ถ้าอัตราเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่นมากกว่าอัตราเร็วคลื่นในตัวกลาง

               แหล่งกำเนิดคลื่นจะเคลื่อนที่ผ่านพนหน้าคลื่นทุก ๆ หน้าคลื่นที่อัดตัวกันออกไป และหลังจากนั้นหน้าคลื่นจะ
                                            ้
               อัดตัวกันไปในลักษณะที่เป็นหน้าคลื่นวงกลมซ้อนเรียงกันไปตามแนวการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดคลื่น โดยมี

               แนวหน้าคลื่นที่อัดตัวกันมีลักษณะเป็นรูปมุมแหลม เรียกว่าหน้าคลื่นของ คลื่นกระแทก (shock wave) ดัง

               รูปที่ 26 โดยพลังงานที่แต่ละหน้าคลื่นพาไปจะเสริมกันบนหน้าคลื่นกระแทก
   5   6   7   8   9   10   11   12