Page 7 - บทที่ 10 เสียง
P. 7
7
ในกรณีที่เราไม่สามารถแก้ไขความดังของเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงได้ การป้องกันโดยวิธีอื่น ๆ เช่น
การใช้จุกอุดหู ที่ครอบหูหรือการติดตั้งวัสดุเก็บเสียงจะสามารถช่วยลดมลภาวะของเสียงได้
10.4.4 หูกับการได้ยิน
จากการศึกษาโครงสร้างและการทำงานของหู พบว่าการสั่นของเยื่อแก้วหูเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็มีผล
ต่อประสาทรับรู้ในการได้ยินของคนเราแล้ว
หูของคนเราแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หูส่วนนอก หูส่วนกลางและหูส่วนใน ดังรูปที่ 20
รูปที่ 20 ส่วนประกอบของห ู
ี
หูส่วนนอกประกอบด้วยใบหูและรูหู ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในกะโหลกศรษะไปสิ้นสุดที่เยื่อแก้วหู
หูส่วนกลางเริ่มจากเยื่อแก้วหูซึ่งเป็นเนื้อเยื่อแผ่นบาง ๆ ปิดช่องหูและเป็นส่วนแบ่งระหว่างหูส่วนนอก
กับหูส่วนกลาง บริเวณถัดจากเยื่อแก้วหูเข้าไปเป็นโพรง ภายในโพรงมีกระดูก 3 ชิ้น ซึ่งมีชื่อเรียกตามรูปร่าง
คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ภายในหูส่วนกลางยังมีช่องเล็ก ๆ ที่ติดต่อกับหลอดลมซึ่งจะทำ
หน้าที่ปรับความดันอากาศทั้งสองข้างของแก้วหูให้เท่ากันตลอดเวลา ถ้าความดันทั้งสองข้างของแก้วหูไม่
เท่ากันจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือปวดหู เช่น เมื่อเราดำน้ำลงไปลึก ๆ หรือขึ้นไปบนที่สูงมาก ๆ เป็นต้น
หูส่วนในมีส่วนสำคัญต่อการได้ยินเสียง ได้แก่ ส่วนที่เป็นท่อกลวงขดเป็นรูปคล้ายหอยโข่ง เรียกว่าคอ
เคลีย ภายในท่อนี้ มีเซลล์ขนอยู่เป็นจำนวนมากทำหน้าที่รับรู้การสั่นของคลื่นเสียงที่ผ่านมาจากหูส่วนกลาง
พร้อมกับส่งสัญญาณการรับรู้ผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง สมองจะทำหน้าที่แปลสัญญาณที่ได้รับ ทำให้เรารับรู้
เกี่ยวกับเสียงที่ได้ยิน
เราทราบแล้วว่า ขอบเขตความสามารถของการได้ยินเสียงของหูคนเราขึ้นอยู่กับระดับเสียง และ
ความถี่ของเสียง จากการศึกษาความสามารถทางการได้ยินของคนปกติพบว่า ช่วงความถี่และระดับเสียงที่
คนเราสามารถรับรู้ได้มีความสัมพันธ์กัน ดังรูปที่ 21