Page 45 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 45

   83.33 ปัญหาส่วนตัวคือ เงินไม่พอใช้ ร้อยละ 48.10 เมื่อมีปัญหาจะปรึกษาบิดาและมารดา ร้อยละ 62.86 กิจกรรมยามว่างจะเล่นอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 71.90 เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 75.24 ชนิดของ ยาเสพติดที่ระบาดในชุมชนที่มากที่สุดคือยาบ้า (แอมเฟตามีน) ร้อยละ 88.57 เคยถูกชักชวนให้ลองยาเสพติด ร้อยละ 21.42 ชุมชนพักอาศัยอยู่มีหน่วยงานราชการเข้าไปให้ความรู้เรื่องยาเสพติด ร้อยละ 72.86 และในชุมชนมี เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไปตรวจจับ ร้อยละ 75.71
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด จําแนกรายด้าน (N = 210)
 ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด
ทักษะการควบคุมตนเอง ทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการปฏิเสธ ทักษะการตัดสินใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
ระดับทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดของเด็กและเยาวชนคนภูไท ภาพรวมอยู่ในระดับดี จํานวน 4 ทักษะ คือ ทักษะการปฏิเสธ (𝑥𝑥̅= 4.108, S.D. = 0.596) ทักษะการเห็น คุณค่าในตัวเอง (𝑥𝑥̅= 4.031, S.D. = 0.601) ทักษะการควบคุมตนเอง (𝑥𝑥̅= 3.986, S.D. = 0.688) และทักษะ การตัดสินใจ (𝑥𝑥̅ = 16.209, S.D. = 3.790) ส่วนทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥𝑥̅ = 6.167, S.D. = 2.051)
ระดับทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด การแปลผล Mean S.D.
3.986 0.688 ดี 4.031 0.601 ดี 4.108 0.596 ดี
16.209 3.790 ดี (Xmin= 4, Xmax= 20)
(81.045%)
6.167 2.051 ปานกลาง (Xmin= 0, Xmax= 9)
           (61.67%)
      2) ทุนชุมชนในการสร้างทักษะชีวิตแก่เด็กและเยาวชนคนภูไทชุมชนหนองช้าง
จากการสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับทุนชุมชนของคนภูไทนําสู่การจัดเวทีประชาคม รวมถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เพื่อสังเคราะห์ทุนชุมชนที่เหมาะสมในการพัฒนาทักษะชีวิตแก่เด็ก และเยาวชนคนภูไท เพื่อป้องกันยาเสพติด พบว่า ชุมชนแห่งนี้มีทุนจํานวนมากมายที่ส่งเสริมให้ชุมชนมีความ เป็นอยู่ที่ราบรื่น อยู่เย็นเป็นสุข มีความเป็นปึกแผ่นที่ดี และเป็นชุมชนที่น่าอยู่ชุมชนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น 1) ทุนมนุษย์ ผู้นําชุมชนสามารถทําบทบาทของตัวเองได้ค่อนข้างดี พระภิกษุสงฆ์ก็ยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้กับคนในชุมชนได้ อีกทั้งมีความสามารถเป็นนักเทศน์ เป็นวิทยากรให้ความรู้และฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนระดับจังหวัด ส่วนปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ในด้านต่างๆ แต่ละแขนงก็ยังมีอีกมาก ทําให้การดํารงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นคนภูไทให้คงอยู่ค่อนข้างดี ครูอาจารย์ในโรงเรียนส่วนใหญ่จะเป็นคนใน ชุมชน ทําให้รู้ถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น การทํางานระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชนผสานกันได้อย่างราบรื่น และที่สําคัญชุมชนนี้ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นหมู่บ้าน/ชุมชน คนดี ศรีกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2565 อีกด้วย 2) วัดเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของคนภูไท กิจกรรมต่างๆ ในชุมชนส่วนใหญ่ มักจะถูกจัดขึ้นที่วัด ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อต่างๆ วัดในชุมชนนี้มีทั้งหมด 10 วัด 1 ใน 10 วัด ที่มีความโดดเด่น คือ วัดโพธิ์ศรีสว่างหนองช้าง ได้รับการยอมรับนับถือจากทั้งคนใน และนอกชุมชน 3) ครอบครัวส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการแยกครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยวบ้าง แต่ก็ยังอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับญาติๆ ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน มีความเป็นเครือญาติสูง มีการพึ่งพาอาศัยกัน สอดส่องดูแลกัน และคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี 4) วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น คนภูไทเป็นกลมุ่ ชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีความมุ่งมั่นในการรักษาวัฒนธรรมของตน ไม่ว่าจะเป็นภาษาภูไทซึ่งยังคงใช้พูด
43




















































































   43   44   45   46   47