Page 43 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 43
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะชีวิตการป้องกันยาเสพติดของเด็กและเยาวชนคนภูไทชุมชนหนองช้าง อําเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อศึกษาทุนชุมชนในการสร้างทักษะชีวิตแก่เด็กและเยาวชนคนภูไทชุมชนหนองช้าง อําเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
3. เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนคนภูไทโดยใช้ทุนชุมชนเป็นฐาน เพื่อป้องกันยาเสพติด ชุมชนหนองช้าง อําเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
วิธีการดําเนนิการ
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods Research) ที่เก็บข้อมูลอย่างหลากหลาย ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้ผลการวิจัยมีความครอบคลุมและสมบูรณ์มากขึ้น
การวิจัยเชิงปริมาณ
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กและเยาวชนคนภูไท ซึ่งกําหนดขนาดตัวอย่างจากตารางสําเร็จรูปของ ทาโรยามาเน่ (Yamane, 1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 210 คน โดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster)
การวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล เจ้าหน้าที่องค์การบริหาร ส่วนตําบล อาสาสมัครสาธารณสุข ปราชญ์ชาวบ้าน พระภิกษุสงฆ์ เจ้าหน้าที่ตํารวจ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และตัวแทนเด็กและเยาวชน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จํานวน 32 คน
เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย
1. แบบประเมินทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด ที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจาก ดิฐภัทร บวรชัย (2555) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล สถานภาพทาง ครอบครัว การจัดการกับปัญหา กิจกรรมยามว่าง การระบาดของยาเสพติด ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด และ หน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหายาเสพติด
ส่วนที่ 2 แบบประเมินทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด 5 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการควบคุมตนเอง 2) ทักษะการเห็นคุณค่าในตัวเอง 3) ทักษะการปฏิเสธ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เลือกตอบ 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง (5) เห็นด้วย (4) ไม่แน่ใจ (3) ไม่เห็นด้วย (2) และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (1) ส่วนทักษะที่ 4) ทักษะการตัดสินใจ เป็นแบบทดสอบหลายตัวเลือก จํานวน 10 ข้อคําถาม ถ้าเลือกข้อที่เป็นการตัดสินใจถูกที่สุด ได้ 2 คะแนน และถ้าเลือกตัดสินใจถูกรองลงมา ได้ 1 คะแนน แต่ถ้าเลือกตัดสินใจผิด ได้ 0 คะแนน คะแนน รวมอยู่ในช่วง 0–20 คะแนน เกณฑ์ในการแปลผลคะแนนใช้การพิจารณาแบ่งระดับคะแนนอิงเกณฑ์ โดยประยุกต์หลักการของ Bloom (1971) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับดี (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) ระดับผ่าน (ร้อยละ 60–79) ระดับควรปรับปรุง (ต่ํากว่าร้อยละ 60) และ 5) ทักษะการแก้ปัญหา เป็นข้อสอบ จํานวน 10 ข้อคําถาม ถ้าตอบ “ถูก” ได้ 1 คะแนน แต่ถ้าตอบ “ผิด” ได้ 0 คะแนน คะแนนรวมอยู่ในช่วง 0–10 คะแนน เกณฑ์ในการแปลผลคะแนนใช้การพิจารณาแบ่งระดับคะแนนอิงเกณฑ์ โดยประยุกต์หลักการของ Bloom (1971) แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้ คือ ระดับดี (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 60–79) ระดับต่ํา (ต่ํากว่าร้อยละ 60) นําไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ท่าน โดยมีค่า IOC (Index of Item Object Congruence) อยู่ระหว่าง 0.6-1.00 และ นําไปทดลองใช้กับเด็กและเยาวชนคนภูไทที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability)
41