Page 42 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 42
บทนํา
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสําคัญยิ่งของทุกๆ ประเทศ และก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC, 2021) ในประเทศไทยปัญหายาเสพติด ส่งผลต่อ โครงสร้างทางสังคมในลักษณะที่ขาดพลังและขาดความสมดุลในการพัฒนา สถาบันหลักทางสังคมเกิด ความอ่อนแอ ทําให้ปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว (สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด, 2565) จากรายงานของสถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ปี 2560 – 2563 พบว่า เด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดมีอายุน้อยลง ส่วนใหญ่อายุ 15-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 30-40 ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่ม เสี่ยงที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพราะมีโอกาสเข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นภัยต่อสุขภาพกายและ สุขภาพจิต
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่สําคัญ เนื่องจากจะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เป็นกําลัง สําคัญในการพัฒนาประเทศ การส่งเสริมความรู้ความสามารถ ทักษะชีวิต เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อตั้งรับ และป้องกันปัญหาด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น (คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2561) ซึ่งสอดคล้องกับอรุณวรรณ บุญเทียบทิฆัมพร (2549) ศึกษาการพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนพุทธภาวนา กล่าวว่า เด็กและเยาวชนท่มี ีทักษะชีวิตต่ํา ขาดภูมิคุ้มกันทางสังคมจะมีปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ เกิดความ ขัดแย้งในชีวิตได้ง่าย และไม่ประสบความสําเร็จในด้านต่างๆ และสอดคล้องกับ Nelson – Jones (2013) ได้กล่าวว่า บุคคลที่มีทักษะชีวิตที่ดีจะมีจิตใจที่เป็นสุข แต่ถ้าขาดทักษะชีวิตที่เหมาะสมจะไม่สามารถเติมเต็ม ศักยภาพและความต้องการของตนเองได้ จะนําไปสู่การเจ็บป่วยทางจิตใจ
จังหวัดกาฬสินธุ์ ติด 1 ใน 3 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด อีกทั้งยังปรากฏข่าวสารด้านการค้าและการแพร่ระบาดของยาบ้ามากที่สุด (สํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด, 2562) จากการประเมินสถานะของหมู่บ้านโดยศูนย์อํานวยการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด พบว่า มีหมู่บ้านสถานะสีแดง จํานวน 249 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 15.37 อยู่ในลําดับที่ 3 ของประเทศ (ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2562) มีพื้นที่บางส่วนติดกับเทือกเขา ภูพานซึ่งเป็นจุดลักลอบลําเลียง จุดพัก และกระจายยาเสพติดไปยังที่ต่างๆ ทําให้เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากการลงสํารวจพื้นที่ชุมชนคนภูไทแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื พบว่าเด็กและเยาวชนบาง กลุ่มมีการมั่วสุม เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ส่งผลกระทบต่อการเรียน เรียนไม่จบ ออกกลางคัน เกิดการลักขโมย การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนลดลง และเกิดความไม่สงบขึ้น ผู้วิจัยพร้อมด้วยผู้นําชุมชน และสมาชิกคนอื่นๆ ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และมองว่าการแก้ปัญหาต่างๆ ของชุมชนไม่สามารถที่จะพึ่งระบบการ ดําเนินงานของภาครัฐได้เพียงอย่างเดียว แต่ชุมชนจําเป็นต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทชุมชนของคนภูไท ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ และเชื่อมโยงไปสู่ความสามารถ ตามศักยภาพชุมชนโดยใช้ทุนชุมชนเป็นฐาน เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนคนภูไท โดยใช้ทุนชุมชนเป็นฐาน เพื่อป้องกันยาเสพติด โดยให้เด็กและเยาวชนรู้ถึงโทษพิษภัยยาเสพติด และไม่ไปยุ่ง เกี่ยวกับยาเสพติด ส่งผลทําให้เกิดพลังอันเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนเกิดการพัฒนา และนําไปสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป
40