Page 52 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 52

   การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไรร้อยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
โสภิดา ดาวสดใส*
บทคัดย่อ
ยาเสพติดเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มขยายตัวและมีความรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนจํานวนผู้ป่วยยาเสพติด ที่มีอาการทางจิตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยยาเสพติดที่รักษาที่โรงพยาบาลแล้วจะกลับเข้าสู่การดํารงชีวิต ในครอบครัวและชุมชน ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยยาเสพติดจําเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมทั้งจากผู้ป่วย โรงพยาบาล และชุมชน โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน และ 2) เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าร่วมในโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจาก โรงพยาบาลสู่ชุมชน ดําเนินการใน 2 พื้นที่ของอําเภอมัญจาคีรี และ อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในแต่ละพื้นที่มี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ ได้แก่ ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตร่วม สมาชิกครอบครัวผู้ป่วย อาสาสมัคร สาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล พยาบาลของโรงพยาบาล และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในชุมชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตํารวจ และปกครอง เพื่อร่วมกันทํางานดูแลผู้ป่วยยาเสพติด แบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน แนวคิดการดําเนินงานประยุกต์ใช้จากแนวคิดการพัฒนาของ Kemmis & McTaggart โดยดําเนินการใน 4 ขั้นตอนคือ การวางแผนงาน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการตอบสนองกลับ (Reflection) จากน้ันดําเนินการประเมินผลการดูแล ผู้ป่วยของโครงการฯ ระยะเวลาการดําเนินการโครงการฯ 3 ปี (2564 ถึง 2566) มีการดําเนินการจัดตั้ง คณะกรรมการรับผิดชอบการบําบัดผู้ป่วยยาเสพติดของโครงการฯ มีการวางแผนพัฒนาระบบการดูแล ผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ทั้งในมิติของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร และการจัด การดูแลผู้ป่วย รวมถึงการติดตาม สังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จากนั้น ดําเนินการปฏิบัติการตามแผนของโครงการฯ จากผลการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าโครงการฯ พบว่า ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตร่วม ที่เข้าร่วมโครงการฯ จํานวนทั้งหมด 495 คน ได้รับการดูแลตาม มาตรการแผนการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนครบทุกขั้นตอน และอยู่ในระบบ การดูแลที่สามารถติดตามต่อเนื่องได้ จํานวน 495 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 ผลของการติดตามการดูแลผู้ป่วย พบว่า ผูป้ ่วยอยู่ในสถานะที่ดีขึ้น กล่าวคือ 1) ผู้ป่วยได้รับการดูแลครบทุกขั้นตอน 2) ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ ก้าวร้าวรุนแรง และ 3) ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการดูแลรักษา จํานวน 483 คน คิดเป็นร้อยละ 97.3
สรุป การดําเนินโครงการฯ ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงมีการทํางานร่วมกันอย่างบูรณาการ (ไร้รอยต่อ) ทั้งในมิติของข้อมูล การสื่อสาร การจัดการดูแลผู้ป่วย และการตอบสนองในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด อย่างต่อเนื่องของภาคส่วนต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลและชุมชน เป็นส่วนสําคัญในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งจะกลับเข้าสู่การดํารงชีวิตในครอบครัวและชุมชน
* โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น
 50




























































































   50   51   52   53   54