Page 55 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 55

   โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสําคัญด้านการพัฒนาให้เกิด เครือข่ายการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญของกรมการแพทย์ การพัฒนา ระบบบริการในทุกระดับ ให้มีมาตรฐานเป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการบําบัดรักษาที่สถานบริการใกล้บ้าน สามารถรับการบําบัดรักษาได้อย่างต่อเนื่อง รับผิดชอบเขตบริการสุขภาพที่ 7, 9 และ 10 จึงจัดทําโครงการ พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 จนถึงปีงบประมาณ 2566 โดยเป็นการบูรณาการทํางานเชิงพื้นที่ ใช้แหล่งประโยชน์ให้เกิดคุณภาพบริการ สุขภาพอย่างสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของ ผู้ป่วยเฉพาะราย ประสานการดูแลตั้งแต่แรกเริ่ม ในทุกระดับความรุนแรงและผลกระทบจากยาเสพติด ตั้งแต่ยังอยู่ในชุมชนเชื่อมโยงระบบส่งต่อเพื่อการรักษา จนกระทั่งจําหน่ายกลับบ้านและส่งต่อแผนการดูแล ต่อเนื่องให้ครอบครัว หน่วยบริการสุขภาพในชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้มีแนวทางการดูแลเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน เกิดความต่อเนื่องในการดูแลครบถ้วนครอบคลุมทั้งมิติด้านสุขภาพ มิติทางสังคม คงอยู่ใน ระบบการดูแล ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนอย่างปกติสุข ชุมชนสามารถจัดการ กับปัญหายาเสพติดอย่างเหมาะสม เป็นสังคมปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างแท้จริง
ดังนั้นผู้ศึกษาในฐานะผู้บริหารสูงสุดขององค์กรพยาบาลโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่นและ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดแบบครบวงจรไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ ชุมชนของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น เห็นความจําเป็นในการปรับกระบวนทัศน์ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตามแนวคิดของการดูแลบําบัดฟื้นฟูพร้อมการมีส่วนร่วมของชุมชนและประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย ได้ดําเนิน โครงการตั้งแต่ปี 2564 ถึงปี 2566 ในพื้นที่นําร่อง 2 พื้นที่ในจังหวัดขอนแก่นโดยมีการบูรณาการแนวคิด และกิจกรรมในการร่วมกันดูแลผู้ป่วยในชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วมในทุกระยะ ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน กิจกรรม และร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มีการจัดระบบข้อมูลผู้ป่วย ระบบการดูแล ระบบการส่งต่อ และ ระบบการติดตามเยี่ยมหลังการบําบัด ให้ผู้เสพผู้ติดสามารถอยู่ในสังคมโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว ชุมชน และใช้ทุนทางสังคมให้มีการดูแลต่อเนื่องต่อไปได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
2. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษา
ใช้การพัฒนาตามขั้นตอนหลักของ Kemmis & McTaggart (1988) ประกอบด้วยกิจกรรมสําคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนเพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Planning) 2) ลงมือปฏิบัติการตามแผน
53



























































































   53   54   55   56   57