Page 58 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 58
2.2 ประชุมค้นหาข้อมูลสถานการณ์ปัญหา และค้นหาความต้องการแก้ไขปัญหาในชุมชนด้วย รูปแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วม ทําประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นเสนอแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน
2.3 ประชุมทีมงานของชุมชน แกนนําชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อค้นหาคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ ยาเสพติดในชุมชน
2.4 จัดทําฐานข้อมูลและมีกลุ่มไลน์ เพื่อติดต่อสื่อสารของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
2.5 วางแผนดําเนินการดูแลผู้ป่วย ดังนี้
Pre-Hospital
1. ประชุมทุกสถานบริการ เป็นศูนย์คัดกรองผู้ป่วย SMI-V โดยทุกสถานบริการค้นหา คัดกรองผู้ป่วยจิตเวช
และยาเสพติด และส่งตัวเข้ารับการบําบัดรักษาในโรงพยาบาล
2. อบรมให้ความรู้จัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการบําบัดผู้ป่วย อบรม อสม. ผู้นําชุมชน
ประชาชนพบเห็น ภาวะอันตรายจากอาการทางจิตเวช และยาเสพติด หรือ พบมี 5 สัญญาณเตือน แจ้งเหตุ “191 FIRST”
3. สร้างเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยในระดับชุมชน เจ้าหน้าที่ตํารวจ/พนักงานฝ่ายปกครอง/ หน่วยกู้ชีพ กู้ภัยหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นผู้นําส่งเพื่อบําบัดรักษา โดย ควบคุมอาการคลุ้มคลั่งให้สงบ และนําส่ง รพ. ประเมิน มีการประเมินอาการทางกาย ก่อนประเมินอาการทางจิต
4. สร้างเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยในระดับจังหวัด จัดระบบประสานการส่งต่อไปโรงพยาบาลเฉพาะทาง
In-Hospital
1. โรงพยาบาลน้ําพองและโรงพยาบาลมัญจาคีรีจัดทําแนวทางในการตรวจวินิจฉัยบําบัดรักษา การควบคุมอาการคลุ้มคลั่งใหส้ งบ มีการประเมินอาการทางกาย ก่อนประเมินอาการทางจิต/มีเตียงพักคอย
2. การประสานการส่งต่อ ไปยังโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่นหรือโรงพยาบาลจิตเวชราชนครินทร์ เมื่อเกินศักยภาพ
3. สรุปผลการบําบัดรักษาเบื้องต้น วางแผนคืนข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยให้ ดูแลต่อเนื่องในชุมชน
Post-Hospital
1. ส่งต่อข้อมูลให้ชุมชนและวางแผนเยี่ยมติดตามโดยทีม CBTx และ แกนนําชุมชน
2. การให้ความรู้แก่ครอบครัว/ญาติ/ผู้ป่วยทําความเข้าใจและสร้างทัศนคติ ของคนในชุมชนต่อ ผู้ป่วยในเชิงบวก หน่วยงานในระบบสังคมและสวัสดิการอื่นๆ มีส่วนร่วมในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยใน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในชุมชน
56