Page 60 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 60

   3) สังเกตการณ์ (Observation) ทีมงานลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมบําบัดในชุมชน ประชุมติดตามอย่างต่อเนื่อง สังเกตการณ์ดําเนินงาน จดบันทึกอย่างรอบด้าน ประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่เป็นระยะ
4) สะท้อนกลับ (Reflection) เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล แนวทางการทํางาน ผลการดําเนินงานปัญหา อุปสรรคมาวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่ สังเคราะห์ สะท้อนผลการดําเนินงานแก่คณะทํางานเพื่อการวางแผน การพัฒนาในรอบต่อไป
ผลลัพธ์ของอําเภอน้ําพอง ปี 2565 มีผู้ป่วยในชุมชนทั้งหมด 35 คน ส่งต่อโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จํานวน 13 คน ส่งต่อ รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น 2 คน นอกนั้นสามารถดูแลต่อเนื่องในชุมชน โดยมีบัดดี้ในการดูแล การกินยา ไม่มีปัญหาก่อความรุนแรงในชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มผู้รับผิดชอบในการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุในชุมชน และวางแผนขยายพื้นที่ดําเนินงานไปให้ครบทุกหมู่บ้านในตําบลพังทุย
ผลลัพธ์ของอําเภอมัญจาคีรี มีผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวตามระบบส่งต่อโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จํานวน 135 คน ส่งต่อ รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น 49 คน นอกนั้นสามารถดูแลต่อเนื่องในชุมชน ยังมีข้อจํากัดใน การติดตามหลังกลับสู่ชุมชน แตว่ างแผนในการประสานงานกับทุก รพ.สต. ในปีต่อไป
ปี 2566
1) การวางแผนเพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Planning) โดยประชุมทีมงานของชุมชน แกนนํา ชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อระดมสมองเพื่อหาปัญหาและอุปสรรคในการทํางานและวางแผนในการพัฒนา ระบบงานปีต่อไป
2) ลงมือปฏิบัติการตามแผน (Action) ทีมงานอําเภอน้ําพอง มีการพัฒนาขยายกิจกรรมสู่ ศูนย์ฟื้นฟู CI ตําบลพังทุย จัดระบบการติดตามเยี่ยมหลังการบําบัด มีการฝึกอาชีพทีมงานอําเภอมัญจาคีรี โดยประชุมเจ้าหน้าที่ของ รพ.สต. ในพื้นที่ 11 แห่ง เพื่อการวางแผนการติดตามเยี่ยมในชุมชน
3) สังเกตการณ์ (Observation) ทีมงานลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมบําบัดในชุมชน ประชุมติดตามอย่างต่อเนื่อง สังเกตการณ์ดําเนินงาน จดบันทึกอย่างรอบด้าน ประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่เป็นระยะ
4) สะท้อนกลับ (Reflection) เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล แนวทางการทํางาน ผลการดําเนินงาน ปัญหาอุปสรรคมาวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่ สังเคราะห์ สะท้อนผลการดําเนินงานแก่คณะทํางาน เพื่อการวางแผนการพัฒนาในรอบต่อไป
58

























































































   58   59   60   61   62