Page 62 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 62

   ตารางที่ 1 ผลการพัฒนาระบบการดูแลผปู้ ่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน วงจรการทํางานเชิงปฏิบัติการ ผลการดําเนนิงานของอําเภอมัญจาคีรีและอําเภอนา้ํพอง
    ดําเนินการในปี 2564 ถึง 2566 ดําเนินการ 4 ข้ันตอน ได้แก่
1) การวางแผนเพ่ือไปสู่การ เปลี่ยนแปลงท่ีดีขึ้น (Planning)
2) ลงมือปฏิบัติการตามแผน (Action)
3) สังเกตการณ์ (Observation)
4) สะท้อนกลับ (Reflection) รวม 3 วงรอบ
1. แต่งตั้งคณะทํางานระดับอําเภอ โดยนายอําเภอเป็นประธาน คณะกรรมการ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เก่ียวข้องร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติการระดับอําเภอ
2. ประชุมคืนข้อมูล สถานการณ์ปัญหา และค้นหาความต้องการแก้ไขปัญหา ในชุมชนด้วยรูปแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วม ทําประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็น เสนอแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน
3. ประชุมทีมงานของชุมชน แกนนําชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อค้นหา คัดกรองกลุ่มผู้ป่วยท่ีใช้ยาเสพติดในชุมชน
4. จัดทําฐานข้อมูลและมีกลุ่มไลน์ เพื่อติดต่อสื่อสารของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วน
5. ประชุมทุกสถานบริการ เป็นศูนย์คัดกรองผู้ป่วย SMI-V โดยทุกสถานบริการ ค้นหาคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด และส่งตัวเข้ารับการบําบัดรักษาใน โรงพยาบาล
6. อบรมให้ความรู้จัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการบําบัดผู้ป่วย
7. โรงพยาบาลน้ําพองและโรงพยาบาลมัญจาคีรีจัดทําแนวทางในการตรวจ วินิจฉัยบําบัดรักษา การควบคุมอาการคลุ้มคลั่งให้สงบ มีการประเมินอาการ ทางกาย ก่อนประเมินอาการทางจิตจัดระบบการดูแล Pre-hospital, In-hospital, Post-hospital/ มีเตียงพักคอย เพื่อดูแลเบื้องต้น
8. อบรม อสม. ผู้นําชุมชน ประชาชนถ้าพบเห็น ภาวะอันตรายจากอาการ ทางจิตเวช และยาเสพติด หรือ พบมี 5 สัญญาณเตือน แจ้งเหตุ “191 FIRST”
9. สร้างเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยในระดับชุมชน เจ้าหน้าที่ตํารวจ/พนักงาน ฝ่ายปกครอง/ หน่วยกู้ชีพ กู้ภัย/หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นผู้นําส่ง เพื่อบําบัดรักษา โดยควบคุมอาการคลุ้มคลั่งให้สงบ และนําส่ง รพ. ประเมิน มีการประเมินอาการทางกาย ก่อนประเมินอาการทางจิต
  60



















































































   60   61   62   63   64