Page 64 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 64

   ตารางที่ 3 ผลการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าโครงการฯ ของอําเภอน้ําพองที่ได้รับการดูแลแบบไร้รอยต่อ
 จํานวนผู้ป่วย
จํานวนผู้ป่วยทั้งหมด การส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการ
รักษาท่ีรพ. จิตเวช
ขอนแก่นราชนครินทร์ การส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการ
บําบัดรักษา ที่รพ.ธัญญา
รักษ์ขอนแก่น ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลโดยชุมชน จํานวนผู้ป่วยที่อยู่ในระบบ
ได้รับการติดตามดูแล ต่อเน่ือง
อภิปรายผล
2564 จํานวน (ร้อยละ)
22
7 (31.8)
4 (31.8)
11 (18.2) 22 (100)
2565 จํานวน (ร้อยละ)
35 13 (37.1)
2 (5.7)
20 (57.2) 35 (100)
2566 จํานวน (ร้อยละ)
40
7 (17.5)
3 (7.5)
30 (75.0) 40 (100)
   จากการดําเนินการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยของโครงการฯ จากระยะเวลาการดําเนินการโครงการฯ 3 ปี (ปี 2564 ถึงปี 2566) มีการดําเนินการจัดตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบการบําบัดผู้ป่วยยาเสพติดของ โครงการฯ เพื่อเป็นเจ้าภาพหลักในการวางแผนการดําเนินการโครงการฯ วางแผนการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย วางแผนการติดตาม การสังเกตการณ์และการสะท้อนกลับในการดูแลผู้ป่วย โดยมีการบูรณาการการทํางาน ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ทั้งผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตร่วม สมาชิกครอบครัว ผู้ป่วยฯ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล พยาบาลของ โรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในชุมชน เช่น เจ้าหน้าที่ตํารวจและปกครอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล อย่างต่อเนื่องไร้รอยต่อทั้งในมิติของข้อมูล การสื่อสาร และการดูแลผู้ป่วย รวมถึงการติดตาม สังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จากนั้นดําเนินการปฏิบัติการตามแผนของโครงการฯ สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนากระบวนการของ Kemmis & McTaggart (1998) โดยดําเนินการใน 4 ขั้นตอนคือ การวางแผนงาน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการตอบสนองกลับ (Reflection) นําไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยฯ อย่างไร้รอยต่อระหว่าง โรงพยาบาลกับชุมชน ซึ่งเปน็ ส่วนสําคัญในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่จะกลับเข้าสู่การดํารงชีวิตในครอบครัว และชุมชน ซึ่งการดําเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
62










































































   62   63   64   65   66