Page 65 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 65
แสดงให้เห็นว่าการทํางานร่วมกันอย่างมีบูรณาการร่วมกัน (ไร้รอยต่อ) ทั้งในมิติของข้อมูล การสื่อสาร การดูแลผู้ป่วยและการตอบสนองในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนา กระบวนการของ Kemmis & McTaggart นอกจากนี้การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อ จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนนั้นยังสอดคล้องตามข้อเสนอแนะจากการศึกษาของ เกษมศานต์ โชติชาครพันธ์ และคณะ (2562) ที่ได้ประเมินการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามและบําบัดรักษายาเสพติด ว่าควรมีการพัฒนาและสร้างแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันของเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นและ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ (กิตติมา ก้านจักร และคณะ, 2564) ได้ทําการศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแล ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวช และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดความรุนแรงแบบบูรณาการจังหวัดขอนแก่นโดย สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานยาเสพติด พบปัญหาด้านการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการบําบัดมากที่สุดร้อยละ 94 เนื่องจากสถานที่บําบัดในระดับตติยภูมิ เช่น โรงพยาบาลจิตเวชโรงพยาบาลธัญญารักษ์มีไม่เพียงพอทําให้ผู้ป่วยค้าง ในชุมชนและเสนอแนะให้มีการจัดระบบให้พร้อมรับผู้ป่วยที่ส่งต่อจากพื้นที่และ โรงพยาบาลชุมชนควรมี การพัฒนาการให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับบริการครอบคลุมทั้งกาย จิต และสังคม
จากการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าโครงการฯ พบว่า ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตร่วม ที่เข้าร่วมโครงการฯ จํานวนทั้งหมดจํานวน 495 คน ได้รับการดูแลตามมาตรการแผนการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด แบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนครบทุกขั้นตอน จํานวน 495 คน คิดเป็น ร้อยละ 100.0 และ ผลของ การติดตามการดูแลผู้ป่วยฯ พบว่าผู้ป่วยอยู่ในสถานะที่ดีขึ้นจํานวน 483 คน คิดเป็นร้อยละ 97.3 กล่าวคือ 1) ผู้ป่วยได้รับการดูแลครบทุกขั้นตอน 2) ผู้ป่วยไม่แสดงอาการก้าวร้าวรุนแรง และ 3) ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ ในการดูแลรักษาและอยู่ในระบบการดูแลผู้ป่วยที่สามารถติดตามต่อเนื่องได้ ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวัง แผนปฏิบัติการเร่งด่วน Quick win ของกระทรวงสาธารณสุข ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการจิตเวชร่วม ให้ได้เข้าถึงการบริการดูแลผู้ป่วยอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง นอกจากนี้การดําเนินงานของโครงการดังกล่าวได้ กําหนดมาตรฐานขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยฯ ทั้งจากโรงพยาบาลและชุมชนอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ ของโครงการฯที่ทําให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยฯ สามารถดําเนินการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิผล และมีความเข้าใจสอดคล้องกันในการดูแลผู้ป่วยทั้งโรงพยาบาลและชุมชน
สรุปและข้อเสนอแนะ
โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน เป็นการทํางาน อย่างมีบูรณาการร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล แกนนําชุมชน อสม. โรงพยาบาลชุมชนทุกภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และครอบครัวที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ทั้งในมิติของการจัดการข้อมูลข่าวสาร การ สื่อสาร และการจัดการดูแลผู้ป่วยของผู้เกี่ยวข้อง และการส่งต่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาลเฉพาะทาง ข้อเสนอแนะ คือ
1. ควรมีการขยายพื้นที่การดําเนินการโครงการนี้ สื่อสารการดูแลผู้ป่วยและการตอบสนองในการดแู ล ผู้ป่วยยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยข้อเสนอแนะให้มากขึ้นในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตร่วม ในระดับอําเภอและจังหวัดต่างๆ
2. ควรมีการขยายประเภทกลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดที่ยังไม่มีอาการทางจิตร่วม โดยใช้แนวทาง การดําเนินการโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ก่อนที่ ผู้ป่วยยาเสพติดจะมีอาการทางจิตร่วม (Early detection)
63