Page 61 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 61
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดย การวิเคราะห์เนื้อหา (Contest analysis)
ผลการดําเนินงาน
1. สภาพปัญหาก่อนดําเนินโครงการ
1.1 พื้นที่อําเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ห่างจากจังหวัดขอนแก่น 55 กิโลเมตร
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทั้งหมด 11 แห่งองค์การบริหารส่วนตําบล 7 แห่งและเทศบาล 2 แห่ง จํานวนหมู่บ้าน 118 หมู่บ้าน โรงพยาบาลมัญจาคีรีจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดตั้งแต่ปี 2563 มีอุบัติการณ์ผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดในชุมชนรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ทําร้ายร่างกายประชาชนในชุมชน เสียชีวิต และพบปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการก้าวร้าวรุนแรงในชุมชนมารับบริการมากขึ้น ครอบครัวไม่สามารถนําสู่ การบําบัดได้ เกิดความเดือดร้อนระดับอําเภอ มีเรื่องร้องเรียนทีมงาน การติดตามเยี่ยมในชุมชน แต่ไม่สามารถ เข้าถึงผู้ป่วยได้เพราะเสี่ยงต่อการถูกทําร้าย จากการวิเคราะห์ปัญหาจากการดําเนินการพบ ปัญหาที่เป็น อุปสรรคต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่ยอมรับความเจ็บป่วย รวมถึงญาติผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจใน พยาธิสภาพของโรคส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยไม่เหมาะสม ขาดยา หยุดยาเอง พบปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยและ การติดตามในชุมชน
1.2 พื้นที่ตําบลพังทุย อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น ห่างจากจังหวัดขอนแก่น 50 กิโลเมตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลพังทุยรับผิดชอบ 1,739 หลังคาเรือน 13 หมู่บ้านพื้นที่ตําบลพังทุย มีปัญหาผู้ป่วยติดยาบ้าที่มีอาการทางจิตที่เพิ่มจํานวนมากขึ้นจากปี 2560 จํานวน 2 คน เพิ่มเป็น 5, 8 คน ในปี 2562, 2563 ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาในชุมชนอย่างมาก จากการประชุมประชาคมในพื้นที่ร่วมกับ กลุ่มแกนนําชุมชนสรุปปัญหาที่ชุมชนสะท้อนมา ได้แก่ การมีผู้ป่วยก้าวร้าว อาละวาดในชุมชน ผู้ป่วยจิตเวชที่ ไม่มีใครดูแลในครอบครัว ปัญหาความยากจน ปัญหาการขาดยา ครอบครัวไม่มีอาชีพไม่มีศักยภาพใน การดูแลปัญหาผู้ดูแลหลักเป็นผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงหรือภาวะผู้ป่วยดูแลกันเอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยังขาดแนวทางที่เป็นรูปธรรม
2. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดแบบไร้รอยต่อจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
เริ่มดําเนินการในปี 2564 ใช้การพัฒนาตามขั้นตอนหลักของ Kemmis & McTaggart (1988) แบ่งการดําเนินงานเป็น 4 ระยะ ในปี 2564 ถึง 2566
59