Page 59 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 59

   3) สังเกตการณ์ (observation) ทีมงานลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมบําบัดในชุมชน ประชุมติดตามอย่างต่อเนื่อง สังเกตการณ์ดําเนินงาน จดบันทึกอย่างรอบด้าน จัดประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จัดประชุม คณะทํางานระดับอําเภอเพื่อติดตามงานทุกเดือน
4) สะท้อนกลับ (reflection) เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล แนวทางการทํางาน ผลการดําเนินงาน ปัญหาอุปสรรคมาวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่ สังเคราะห์ สะท้อนผลการดําเนินงานแก่คณะทํางานเพื่อการวางแผน การพัฒนาในรอบต่อไป
ผลลัพธ์ของอําเภอน้ําพอง พบว่าปัญหาเร่งด่วนคือการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเวชร่วม (SMI-V) มีจัดตั้งคณะกรรมการดําเนินงาน โดยมีนายอําเภอเป็นประธาน ทีมงานประกอบด้วยตํารวจ สาธารณสุข ปกครอง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมจัดทําแผนการดําเนินงาน และการส่งต่อผู้ป่วยร่วมกับ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น และโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เลือกพื้นที่ต้นแบบ ดําเนินการในพื้นที่บ้านพังทุย 5 หมู่บ้าน ตําบลพังทุย อําเภอน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น ผู้ป่วยผู้ติดยาเสพติดที่ มีอาการจิตเวชร่วม จํานวน 14 คน เป็นผู้ชาย 13 คน ผู้หญิง 1 คน อายุเฉลี่ย 21-30 ปี กลุ่มผูด้ ูแลผู้ป่วย จํานวน 14 คนกลุ่ม อสม. ที่เป็นบัดดี้กับผู้ป่วยแต่ละครัวเรือน 14 คน มีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโดย ทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้น มีการเข้าร่วมกลุ่มทุก 2 สัปดาห์ในรูปแบบโรงเรียน “ผูกมิตรวิทยา” โดยชุมชนร่วมกันจัดทําหลักสูตร การเรียนการสอนสําหรับกลุ่มเป้าหมาย ดําเนินการใน รูปแบบผูกมิตรวิทยาได้ 3 ครั้ง เกิดโควิดระบาด
ผลลัพธ์ของอําเภอมัญจาคีรี พบว่ามีจัดตั้งคณะกรรมการดําเนินงาน โดยมีนายอําเภอเป็นประธาน ทีมงานประกอบด้วยตํารวจ สาธารณสุข ปกครอง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมจัดทําแผนการดําเนินงาน และการส่งต่อผู้ป่วยร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น และโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จัดตั้งศูนย์ป้องกันฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด (นาคาพิทักษ์) เพื่อเป็นจุดประสานงาน และ มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยดังนี้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนแจ้งเหตุที่ 191 และทีมตํารวจจะไปถึงภายใน 10 นาที รายงานผลผ่าน Line และจัดประชุมทีมงาน ต่อเนื่อง ทุก 1 เดือน เพื่อติดตามความก้าวหน้า
ปี 2565
1) การวางแผนเพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Planning) ระยะนี้มีการจัดประชุมทีมงานของ ชุมชนแกนนําชุมชนและภาคีเครือข่าย รวบรวมประเด็นที่จะปรับปรุงข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่ได้มาวางแผนกิจกรรมร่วมกันและร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้บริหารระดับอําเภอ ทีมงานสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง ตํารวจ และสหวิชาชีพทั้ง 2 พื้นที่ ทบทวนการบําบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านมาเพื่อวางแผนปีต่อไป
2) ลงมือปฏิบัติการตามแผน (Action) ประชุมคืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหา และค้นหาความต้องการ แก้ไขปัญหาในชุมชนด้วยรูปแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วม ทีมงานอําเภอน้ําพอง พัฒนาทีมงานเพื่อเยี่ยมบ้านผู้ป่วย จัดบัดดี้ในการดูแลผู้ป่วยกินยา พัฒนากลุ่มไลน์ในการแจ้งเหตุ จัดทีมงานชุมชนในการจัดการเมื่อมีคนไข้ ก้าวร้าวในชุมชนทีมงานอําเภอมัญจาคีรี มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบการส่งต่อจากอําเภอมัญจาคีรีมาที่ รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น มีการประชุมกับเครือข่าย รพ.สต. ทุกแห่งใน การติดตามเยี่ยมในชุมชน
57



























































































   57   58   59   60   61