Page 69 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 69

   รูปแบบการดูแลผปู้ ่วยยาเสพตดิ ในทบี่ ้าน (Home ward) Home ward Care Model For Drug Addicted
สุดารัตน์ อรัญญา*
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) รวมถึง วิธีการดําเนินการวางแผนการบําบัดรักษา ตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจําหน่ายโดยทีมสหวิชาชีพร่วมกับครอบครัว โดยใช้แนวคิดการเปลี่ยนผ่านการบําบัดรักษาจากโรงพยาบาลสู่ครอบครัวและชุมชน (Meleis, A., 2010) ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี DMS Telemedicine และ LINE official account ดําเนินการตั้งแต่ 26 มกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน จํานวนผู้ป่วยทั้งหมด 324 ราย ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยมีการวางแผนร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ ครอบครัวและผู้ป่วย มีการนําสื่อความรู้ออนไลน์ร่วมกับการใช้ทักษะการให้คําปรึกษา การเสริมสร้างแรงจูงใจ รายบุคคล และการปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมในการดําเนินชีวิตบนเส้นทางการไม่ใช้ยาเสพติด ทําให้ผู้ป่วยได้รับความรู้ด้านยาเสพติด และทักษะต่างๆ ในการป้องกันการกลับไปใช้ยาเสพติด ผลการดําเนินงานการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) ในปี 2565-2566 พบว่า ร้อยละการคงอยู่ ในระบบบําบัดรักษา 71.86 (166 ราย) และ 89.25 (83 ราย) ตามลําดับ ร้อยละความพึงพอใจของผู้ป่วย 80.95 (187 ราย) และ 86.02 (80 ราย) ตามลําดับ ร้อยละความพึงพอใจของครอบครัว 87.44 (202 ราย) และ 88.17 (82 ราย) ตามลําดับ การดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) ทําให้ผู้ป่วยสามารถลด การใช้ยาเสพติดและดํารงสภาพการกลับมารักษาซ้ําได้นานที่สุด พบว่าอัตราการกลับมารักษาซ้ําแบบผู้ป่วยใน ภายใน 28 วัน ลดลงร้อยละ 18.87 (10 ราย) เป็นร้อยละ 1.74 (4 ราย) ในปี 2566 คุณภาพชีวิตโดยรวมของ ผู้ติดยาเสพติดอยู่ในระดับดี ร้อยละ 60
คําสําคญั : ผู้ป่วยยาเสพติด, รูปแบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน
 *สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
67





























































































   67   68   69   70   71