Page 71 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 71
Home ward คืออะไร
Home ward เป็นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยตัวผู้ป่วยพักอยู่ที่บ้าน เป็นการดูแลที่มีมาตรฐาน การดูแลเทียบเคียงกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล (IPD) โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient centered care) และคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสําคัญตามมาตรฐานการรักษาของแต่ละวิชาชีพโดยมีความร่วมมือ ของญาติหรือผู้ดูแล (Care giver) ในการช่วยประเมินอาการผู้ป่วยและสื่อสารกับทีมแพทย์ (ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์, 2565) ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) เป็นการดูแลผู้ป่วยที่บ้านเสมือนผู้ป่วยนอน โรงพยาบาล (IPD) โดยใช้การเปลี่ยนผ่านการบําบัดรักษาจากโรงพยาบาลไปสู่ครอบครัวและชุมชน (Meleis, A., 2010) ในรูปแบบการจัดการรายกรณี (Case Management) แพทย์และทีมสหวิชาชีพสื่อสารกับผู้ป่วยโดย ใช้เทคโนโลยี
สําหรับบทบาทของทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย แพทย์ประเมินอาการ ตรวจรักษาและติดตาม อาการผู้ป่วยแต่ละราย ผ่านวิดีโอทาง DMS Telemedicine เภสัชกรจัดยา และให้คําแนะนําปรึกษาเกี่ยวกับ ยาตามอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย ผ่านทาง LINE official account พยาบาลประเมินอาการทางยาเสพติด ประเมินระดับแรงจูงใจ (Stage of change) ให้คําปรึกษา หรือให้บริการทํากิจกรรมบําบัดตามกระบวนการ รายบุคคล และติดตามการรักษาผ่าน LINE official account นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ประเมินจิตสังคม และ ดูแลช่วยเหลือตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย ผ่าน LINE official account เป็นต้น
การดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) มีข้อดีคือ ทําให้ผู้ป่วยสามารถบําบัดรักษาตัวอยู่ที่ บ้านได้ สามารถทํางาน หรือเรียนหนังสือได้ ผู้ป่วยได้ดูแลสมาชิกภายในครอบครัว ครอบครัวรักและ เข้าใจผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทําให้สัมพันธภาพในครอบครัวดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่น คุ้นชินกับสถานที่บ้าน โดยไม่ต้องปรับตัวในการนอนรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน มีการเรียนรู้ ในชีวิตประจําวันได้ตามปกติ ขณะเดียวกันผู้ป่วยได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐานการบําบัดรักษา อย่างใกล้ชิด กรณีเกิดปัญหาผู้ป่วยจะได้รับการให้คําปรึกษาหรือการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาตามบริบทของ ผู้ป่วยตามสถานการณ์จริงได้ทันที การดูแลในรูปแบบนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทาง และค่ารักษา การนอนในโรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อจํากัดในการดูแลโดยใช้เทคโนโลยี DMS Telemedicine และ LINE official account ทําให้ไม่สามารถประเมินสภาพผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม เช่น ลักษณะท่าทาง ผู้ป่วยระหว่างการสื่อสาร การสบตา (Eye contract) การใช้ภาษาท่าทาง การใช้อารมณ์ เป็นต้น ในบางพื้นที่ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ส่งผลให้การเชื่อมต่อสัญญาณช้าลง ทําให้คุณภาพของเสียงหรือภาพไม่ดี นอกจากนี้ยังพบข้อจํากัดในการเข้าถึงบริการ ในกรณีผู้ป่วยหรือครอบครัวมีโทรศัพท์ แต่ไม่สามารถเข้าถึง การใช้เทคโนโลยี เช่น ไม่มีอินเทอร์เน็ต และไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้
ลักษณะของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่จะเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาในรูปแบบนี้ มี 2 ช่องทาง คือ กลุ่มผู้ป่วยนอก และกลุ่มผู้ป่วยใน โดยกลุ่มผู้ป่วยนอกที่สมัครใจเข้ารับการบําบัดที่มีความจําเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยไม่มี ความพร้อมนอนโรงพยาบาล หรือกลุ่มผู้ป่วยในที่อยู่ในระยะบําบัดยาที่ต้องการลดจํานวนวันนอนกลับไปรักษา ตัวที่บ้าน ซึ่งมีเกณฑ์คัดเลือกผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ ต่อจิตประสาท (F10-F19) โดยผู้ป่วยจะต้องสมัครใจเข้ารับการบําบัดในรูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด ในที่บ้าน (Home ward) ผู้ป่วยไม่มีอาการขาดยาเสพติด (Withdrawal symptoms) หรือมีอาการขาดยาเสพติด อยู่ในระดับ Mild โดยใช้แบบประเมิน Withdrawal ตามยาเสพติดแต่ละประเภท โรคแทรกซ้อนทางกายและ จิตเวชที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยมีอาการทางจิตสงบ ไม่มีหูแว่ว ประสาทหลอน คัดกรองโดยแบบประเมินความรุนแรง อาการทางจิต (Clinical Global Impression-Severity: CGI-S) และไม่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง คัดกรองโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (Overt Aggression Scale: OAS) นอกจากนี้คนใน ครอบครัวมีความสําคัญควรมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ป่วยหรือครอบครัว สามารถใช้โทรศัพท์หรือแอปพลิเคชันในการสื่อสารกับแพทย์ และทีมสหวิชาชีพได้
69