Page 72 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 72
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) เป็นอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) ใช้การดูแลผ่านเทคโนโลยี DMS Telemedicine และ LINE official account หรือโทรศัพท์ มีรูปแบบ 3 ระยะ คือ ระยะบําบัดยา ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ และระยะติดตาม
ระยะบําบัดยา ผู้ป่วยจะมีอาการขาดยาเสพติด (Withdrawal symptoms) เช่น มีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด มีอาการอยากยา นอนไม่หลับ การดูแลในระยะนี้จึงมีความจําเป็นในการให้ผู้ป่วยสังเกตอาการ ไม่สบายต่างๆ ทางร่างกายที่เกิดขึ้นจากอาการขาดยาอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยที่เข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาใน ระยะบําบัดด้วยยา คือ กลุ่มผู้ป่วยนอกที่สมัครใจเข้ารับการบําบัดที่มีความจําเป็นต้องเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลแต่ผู้ป่วยไม่มีความพร้อมนอนโรงพยาบาล หรือกลุ่มผู้ป่วยในที่อยู่ในระยะบําบัดยาที่ต้องการลด จํานวนวันนอนกลับไปรักษาตัวที่บ้าน โดยผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกจะได้รับการดูแลในรูปแบบ Case Management ตั้งแต่การประเมินอาการขาดยาตามยาเสพติดแต่ละประเภท มีอาการขาดยาเสพติด (Withdrawal symptoms) ได้ในระดับ Mild ผู้ป่วยมีอาการทางจิตสงบ ไม่มีหูแว่ว ประสาทหลอน ผู้ป่วยได้รับ การดูแลจากแพทย์ และทีมสหวิชาชีพทุกวัน ใช้ระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ เมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการขาดยาเสพติด (Withdrawal symptoms) หรือภาวะแทรกซ้อนทางจิตจากการใช้ยาเสพติดทุเลา แพทย์ และพยาบาลจะ ประเมินความพร้อมก่อนเข้ารับการบําบัดรักษาต่อเนื่องในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ
ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดเป็นระยะเวลานาน มักจะมีปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งมีผลต่อการกลับไปเสพติดซ้ําได้ง่าย จึงเป็นสิ่งสําคัญที่ต้องให้ผู้ป่วยตระหนักถึงปัญหาที่ เกิดขึ้น รวมถึงอารมณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง (สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีและโรงพยาบาลธญั ญารักษ์ภูมิภาค,2564) สําหรับการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟูในรูปแบบ Home ward คือ ผู้ป่วยท่ีผ่านเกณฑ์การบําบัดรักษาระยะบําบัดยา ทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ในระยะฟื้นฟูที่ไม่พร้อมนอนต่อในโรงพยาบาลระยะยาว ซึ่งผู้ป่วยได้รับการดูแลจากแพทย์ และทีมสหวิชาชีพ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในระยะนี้พยาบาลเน้นให้ คําปรึกษาให้ผู้ป่วยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ความคิด ที่มีผลต่อการกลับไปเสพติดซ้ํา และใช้ทักษะการเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกยาเสพติดต่อเนื่อง ซึ่งระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน พยาบาลจะประเมินความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการดูแลต่อเน่ืองในระยะติดตาม
การดูแลจากทีมสหวิชาชีพ ในระยะบําบัดยา และระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่ละวิชาชีพทํางานเป็นทีม ร่วมกันในการวางแผนให้การดูแลผู้ป่วย โดยมีบทบาทหน้าที่ดังน้ี
- แพทย์ ประเมินอาการ ตรวจรักษา และติดตามอาการผ่าน DMS Telemedicine ตามสภาพปัญหา ของผู้ป่วยในแต่ละราย
- เภสัชกร จัดยา และให้คําปรึกษาเก่ียวกับยาตามอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย ผ่านทาง LINE official account
- พยาบาล ประเมินระดับแรงจูงใจ (Stage of Change) ในการเลิกยาเสพติด ประเมินอาการ เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย โดยให้คําปรึกษารายบุคคลตามสภาพปัญหา ทํากิจกรรมบําบัดตามกระบวนการรายบุคคล และติดตามการรักษา โดยให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและกิจกรรมตามโปรแกรมการบําบัด เช่น ให้คําแนะนํา เกี่ยวกับการรับประทานยา ประเมินสังเกตอาการข้างเคียงจากการได้รับยา การจัดการอาการอยากยา การจัดการตัวกระตุ้น การ จัดการอารมณ์โกรธ การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านยาเสพติด และการเสริมพลังอํานาจครอบครัวใน การดูแลผู้ป่วยต่อเน่ือง เป็นต้น โดยผ่านทาง LINE official account
- นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ ประเมินทางจิตสังคม ให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย และ ครอบครัว ตามสภาพปัญหาเฉพาะราย ผ่านทาง LINE official account
70