Page 70 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 70

   บทนํา เนื่องจากปัญหายาเสพติดก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลครอบครัวเศรษฐกิจสังคมและประเทศ ในระยะเวลา 10 ปี (2011–2021) ประมาณ 296 ล้านรายทั่วโลก มีการใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 และมากกว่า 39.5 ล้านราย มีความผิดปกติจากการใช้ยาเสพติด (Drug use disorders) มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ได้รับการรักษา (World drug report, 2023) การติดยาเสพติดเป็นภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง โดยยาเสพติดออกฤทธิ์ต่อสมอง ทําให้สมองส่วนคิด (Cerebral cortex) ถูกทําลายและถูกควบคุมโดยสมอง ส่วนอยาก (Limbic system) มีผลทําให้ความสามารถในการคิด และความจําแย่ลง ไม่มีเหตุผล ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดใช้ยาเสพติดได้ (สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด แห่งชาติบรมราชชนนี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาค, 2564)
ปัญหาจากการใช้ยาเสพติดทําให้เกิดผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจ เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ไม่รับประทานอาหาร น้ําหนักลด ก้าวร้าว มีอาการแทรกซ้อนทางจิต มีหูแว่ว ประสาทหลอน ผลกระทบต่อครอบครัว เช่น มีการทะเลาะวิวาทในครอบครัว ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ทําให้ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ยาเสพติด ค่าใช้จ่ายในการรักษา เรียนไม่จบ และโดนไล่ออกจากงาน และผลกระทบ ด้านคดีความ เช่น ผู้ป่วยยาเสพติดถูกตํารวจจับคดีเสพ จําหน่าย คดีทําร้ายร่างกายผู้อื่น (วีรพล ชูสันเทียะ, สมเดช พินิจสุนทร, 2560) จากสถิติปี 2564-2566 พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ มีจํานวนเพิ่มขึ้น 4,140, 6,106 และ 7,139 ราย ตามลําดับ ซึ่งเป็นจํานวนผู้ป่วยใน 1,370 ราย (ร้อยละ 33.09), 1,393 ราย (ร้อยละ 22.81) และ 2,311 ราย (ร้อยละ 32.37) ตามลําดับ โดยเป็นผู้ป่วยที่มี อาการทางจิตแทรกซ้อนที่มีความจําเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องระยะยาว จํานวน 232 ราย (ร้อยละ 11.20), 132 ราย (ร้อยละ 12.49) และ 170 ราย (ร้อยละ 11.37) ตามลําดับ ส่งผลให้เตียงรองรับ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจํานวนไม่เพียงพอ ทําให้ผู้ป่วยจํานวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงบริการบําบัดรักษาได้
นอกจากนี้ในการบําบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ควรได้รับการบําบัดทั้งการบําบัดด้วยยา และการฟื้นฟู สภาพร่างกาย จิตใจ สังคม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับการดําเนินชีวิตโดยไม่พึ่งพายาเสพติด อย่างไรในการบําบัดกลับพบว่าผู้ป่วยยาเสพติด เมื่อบําบัดอาการขาดยาเสพติดจนดีขึ้นแล้ว ร่างกายแข็งแรง มากขึ้น จะปฏิเสธการบําบัดรักษาในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพในโรงพยาบาลทําให้มีสถิติการบําบัดฟื้นฟู สมรรถภาพลดลง จากสถิติปี 2564-2566 จํานวน 683 ราย (ร้อยละ 49.85) 304 ราย (ร้อยละ 21.82) และ 563 ราย (ร้อยละ 24.36) ตามลําดับ (สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, 2567) โดยให้เหตุผลความจําเป็นในการกลับไปทํางานหารายได้เลี้ยงครอบครัว ไปเรียน มปี ัญหาค่าใช้จ่ายใน การรักษา ทําให้ไม่สามารถนอนรักษาในโรงพยาบาลในระยะยาวได้ และจากการติดตามพบว่าผู้ป่วยกลับไป เสพติดซ้ํา และมีอาการแทรกซ้อนทางจิตที่รุนแรงขึ้น ทําให้ต้องกลับมารักษายาเสพติดซ้ําเป็นจํานวนมากใน แต่ละปี จากสถิติในปี 2564–2566 พบจํานวน 1,456 (ร้อยละ 35.17) 2,228 (ร้อยละ 36.49) และ 2,648 ราย (ร้อยละ 37.09) ตามลําดับ (สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, 2567)
ดังนั้น สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการวิจัย และสร้างนวัตกรรมในการบําบัดฟื้นฟู จึงพัฒนานวัตกรรมบริการรูปแบบการบําบัดรักษาเพื่อเป็นทางเลือกใน การบําบัดรักษา ในรูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based medical services) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยยาเสพติดที่ยังไม่พร้อมเข้าสู่ กระบวนการบําบัดรักษาในสถานพยาบาลแบบผู้ป่วยใน เป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการบําบัดรักษา เพื่อให้ ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ลดจํานวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย และครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จําเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน
68






























































































   68   69   70   71   72