Page 73 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 73
ระยะติดตาม เป็นกระบวนการติดตามและช่วยเหลือผู้ป่วยที่จําหน่ายจากระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยพยาบาลติดตามการรักษาอย่างน้อย 4-7 ครั้ง
ในระยะนี้มักจะพบว่า ผู้ป่วยจะมีปัญหาการเข้าสังคม ความสัมพันธ์ กับครอบครัวและผู้อื่น หากปล่อยให้ผู้ป่วยดําเนินชีวิตตามลําพัง โอกาสการเสพติดซ้ําสูงมาก เพราะต้องเผชิญ ภาวะกดดัน ความเครียด เหงา เศร้า ว้าเหว่ ฯลฯ (สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาค,2564) ดังนั้นพยาบาลและทีมสหวิชาชีพมีส่วนร่วมในการช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกยาเสพติดต่อเนื่อง ในการติดตามการรักษาเฉพาะราย โดยใช้รูปแบบปัญญาสังคม ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ แรงใจ ยึดเหนี่ยว เด็ดเดี่ยว รู้ตน ภาคภูมิ ตั้งมั่น และเข้มแข็ง ใช้ระยะเวลาใน การติดตามดูแลต่อเนื่อง 1 ปี เมื่อดูแลจนครบตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward)
จะมีการส่งต่อข้อมูลและติดตามต่อเนื่องโดยชุมชนใกล้เคียง
ตัวอย่างกรณีศึกษา ในระยะฟ้ืนฟูสมรรถภาพ
เคสชายไทย LGBTQ อายุ 44 ปี สถานภาพโสด สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ การศึกษา ระดับปริญญาโท ประวัติการใช้ยาเสพติด ใช้ไอซ์ฉีด 10 ปี ใช้ปริมาณ 1 กรัม/วัน ใช้ครั้งสุดท้ายวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 มีอาการหูแว่ว หวาดระแวง นอนไม่หลับ ก่อนมาโรงพยาบาล 1 สัปดาห์ การวินิจฉัยโรค Methamphetamine induced psychosis แพทย์รับผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลที่ตึกระยะบําบัดยาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิต ปรับแผนการรักษา และได้รับการพยาบาลดูแล อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งผู้ป่วยไม่มีอาการหูแว่ว หวาดระแวง แพทย์และพยาบาลประเมินความพร้อมผู้ป่วย เพื่อให้บําบัดรักษาต่อเนื่องในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่ผู้ป่วยไม่มีความพร้อมนอนโรงพยาบาล เนื่องจาก ไม่สามารถลางานต่อเนื่องในระยะยาว มีความจําเป็นต้องกลับไปทํางาน และศึกษาต่อระดับปริญญาเอก พยาบาลจึงเสนอทางเลือกรูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน (Home ward) ผู้ป่วยและญาติมี ความสมัครใจที่จะเข้ารับการดูแลในรูปแบบนี้ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ผู้ป่วยจําหน่ายจากตึกบําบัดยา รวมระยะวันนอน 28 วัน วันที่จําหน่ายผู้ป่วยจากตึกระยะบําบัดยา เจ้าหน้าที่พาผู้ป่วยและญาติมาปฐมนิเทศที่ Home ward ซึ่งพยาบาลซักประวัติ ประเมินอาการทางกาย จิต สังคม และรับผู้ป่วยเข้า Home ward ในระยะฟ้ืนฟูสมรรถภาพ ในวันแรกผู้ป่วยและครอบครัว เซ็นใบยินยอมเข้ารับการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในที่บ้าน พร้อมให้รายละเอียดข้อมูลส่วนตัว และที่อยู่ปัจจุบันเพื่อจัดส่งยาทางไปรษณีย์ ก่อนผู้ป่วยและครอบครัว กลับบ้านได้ให้คําแนะนําการดูแลในรูปแบบ Home ward มีการติดตั้งแอปพลิเคชัน DMS Telemedicine และ LINE official account ออกใบนัดผู้ป่วยเพ่ือพบแพทย์ทาง DMS Telemedicine เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านเข้า รับการดูแลแบบ Home ward ในรุ่งขึ้นพยายาบาลให้การดูแลผู้ป่วยโดยผ่านระบบไลน์ พบว่าผู้ป่วยนอนไม่ หลับ จึงได้รับการประเมินอาการ ตรวจรักษา และปรับแผนการรักษาจากแพทย์ เภสัชกรให้คําแนะนํา เรื่องการรับประทานยาต่อเนื่อง พยาบาลที่เป็น Case manager ประเมินแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดอยู่ในระยะ ลังเลใจ จึงวางแผนการทํากิจกรรมบําบัดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยให้ผู้ป่วยตระหนักถึงผลกระทบของการใช้ยา เสพติดส่งสื่อความรู้ออนไลน์ “โรคสมองติดยา”ผ่านทาง LINE official account ร่วมกับให้คําปรึกษา หลังจาก ผู้ป่วยกลับไปทํางาน 1 เดือน ผู้ป่วยขอคําปรึกษากับพยาบาล ในช่องทาง LINE official account โดยเล่าว่า 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีอาการหงุดหงิด จึงกลับไปใช้ไอซ์ฉีดทุกวัน เนื่องจากต้องการมีเพศสัมพันธ์ และมีอารมณ์
ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่ผ่านการดูแลจาก Home ward ยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ กลุ่มผู้ป่วยในระยะฟื้นฟู
กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถเข้าถึงการบําบัดในระยะนี้
สมรรถภาพที่กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน
71