Page 165 - THAMMASAT PRINTING HOUSE
P. 165

                สวนวายัง อมฤต ของอนุสรณ ก็มีลักษณะของหลังสมัยใหม (Post modern) กลาวคือ แมวาเนื้อเรื่องจะพยายามเลาถึงความขัดแยงทาง อุดมการณและความคิดของขบวนการใตดินอินโดนีเซียกับกองทัพญ่ีปุน หาก ดวยการใชกลวิธีการซอนเรื่องเลาลวงและแฝงเรื่องเลาจริง (?) อัน ประกอบดวยเรื่องเลาหลาย ๆ ชุด ทําใหผูอานถูกจูงใจไขวเขว ลงทายดวย การหักมุมทําใหเห็นความลวงพรางจริงสลับเท็จที่แสดงออกอยางพราเลือน เหมือนการเชิดชักตัวหนัง “วายัง กุลิต” ที่อยูใตฉากผา ซึ่งผูอานจะเห็นเพียง แสงและเงาของตัวแสดงหาใชตัวจริงไม5 ปรากฏการณวรรณกรรมทั้งสอง เรื่องนี้เชนเดียวกับการมีวรรณกรรมแนวรหัสคดี และแฟนตาซีเดน ๆ ของ นักเขียนไทยรุนใหม ไดรับการยกยองอยางเปนทางการมากขึ้น เม่ือ “กาหลมหรทึก” ของปราบต และ“ประเทศเหนือจริง” ของ ปองวุฒิ ได เขารอบสุดทายรางวัลซีไรต ป 2558 เชนเดียวกัน (พิเชฐ แสงทอง, 2559)
นี่จึงอาจทําใหเห็นวาในอนาคตขางหนาวรรณกรรมรางวัล สรางสรรคที่ยอยยากอาจประสานกันกับวรรณกรรมประชานิยมที่ยอยงายก็ เปนได เชนเดียวกับคํารอยไรฉันทลักษณอยาง “ไมมีหญิงสาวในบทกวี” ของ ซะการียยา อมตยา สามารถแหวกขนบทําลายกําแพงแหงฉันทลักษณควา รางวัลกวีนิพนธซีไรตในป 2553 ดวยฉันทลักษณกลอนเปลาไดสําเร็จ (ท้ัง ๆ ท่ีวงการกวีนิพนธคอนขางที่จะเปนอนุรักษนิยมมากกวาดวยซ้ํา เชน ติดขนบ การประพันธ ติดฉันทลักษณ ติดความไพเราะ ฯลฯ)
วรรณกรรมออนไลน : นองใหมที่ี่ยัังคงมาแรง อินเทอรเน็ตเปนพื้นที่ใหมในการสรางสรรคงานวรรณกรรม
กอใหเกิดวรรณกรรมรูปแบบใหม อยางวรรณกรรมออนไลน ผานสื่อหรือ ชองทางใหม ๆ ที่เกิดขึ้น เชน วรรณกรรมจากทวิตเตอร วรรณกรรมแช็ต วรรณกรรมภาพ ฯลฯ และในอินเทอรเน็ตยังมีเว็บไซตและเว็บบล็อกจํานวน
157






























































































   163   164   165   166   167